ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาระบบการช่วยให้คำแนะนำสำหรับผู้สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษด้วยหลักการออนโทโลจี- |
นักวิจัย | : | Michael Brueckner , กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต , จักรกฤษณ์ เสน่ห์ นมะหุต |
คำค้น | : | การออนโทโลจี , ผู้สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ , ภาษาอังกฤษ , ระบบการให้คำแนะนำ |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | - |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | บทคัดย่องานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการทดสอบเพื่อใช้ประเมินผลทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษของผู้สอบระบบช่วยอำนวยความสะดวกในการทดสอบวัดความรู้วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบการออกแบบการพัฒนาระบบได้แบ่งระบบออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) ระบบการวิเคราะห์ข้อสอบ (Item Analysis) ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory) แบบ 3 พารามิเตอร์เพื่อวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก (8) ค่าความยาก (5) ค่าการเดา (c) รวมถึงการหาค่าความสามารถผู้สอบ (6) ในระหว่างการทดสอบอีกด้วยแล้วนำค่าพารามิเตอร์ทั้งสามตัวไปหาค่าตำแหน่งสารสนเทศสูงสุดเพื่อใช้ในระบบการทดสอบแบบปรับเหมาะ 2) ระบบการทดสอบแบบปรับเหมาะกับความสามารถของผู้สอบ (Adaptive Testing) ใช้โมเดลการปรับเลือกข้อสอบแบบทางแยกแปรผัน (Variable Branching Model) ระบบนี้ทำหน้าที่คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าตำแหน่งสารสนเทศสูงสุด (mi) ให้มีความใกล้เคียงกับระดับความสามารถของผู้สอบ (6) โดยในการตอบข้อสอบแต่ละข้อจะมีการประเมินค่าความสามารถ (0) และหาค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน SEO) เมื่อค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบลดลงถึงระดับที่ยอมรับได้ระบบจะทำการยุติการสอบซึ่งข้อดีของการใช้โมเดลปรับเหมาะนี้จะช่วยป้องกันการเดาข้อสอบถูกติดต่อกันได้ดีอีกทั้งใช้เวลาและจำนวนข้อสอบไม่มากเกินไปอีกทั้งในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้นำหลักการออนโทโลจีมาประยุกตร์ใช้ในการออกแบบออนโทโลจีโครงสร้างส่วนประกอบภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการวิเคราะห์จุดอ่อนทางด้านภาษาอังกฤษของผู้สอบผลการประเมินความพึงพอใจต่อระบบวิเคราะห์ข้อสอบพบว่ามีความน่าเชื่อถือร้อยละ 96 อยู่ในระดับมากที่สุดความง่ายต่อการใช้งานร้อยละ 92 อยู่ในระดับมากที่สุดความพึงพอใจต่อการวิเคราะห์จุดอ่อนของผู้สอบคิดเป็นร้อยละ 90.5 อยู่ในระดับมากที่สุดความพึงพอใจต่อการทดสอบแบบปรับเหมาะกับระดับความสามารถติดเป็นร้อยละ 90 อยู่ในระดับมาก |
บรรณานุกรม | : |
Michael Brueckner , กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต , จักรกฤษณ์ เสน่ห์ นมะหุต . (2556). การพัฒนาระบบการช่วยให้คำแนะนำสำหรับผู้สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษด้วยหลักการออนโทโลจี-.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. Michael Brueckner , กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต , จักรกฤษณ์ เสน่ห์ นมะหุต . 2556. "การพัฒนาระบบการช่วยให้คำแนะนำสำหรับผู้สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษด้วยหลักการออนโทโลจี-".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. Michael Brueckner , กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต , จักรกฤษณ์ เสน่ห์ นมะหุต . "การพัฒนาระบบการช่วยให้คำแนะนำสำหรับผู้สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษด้วยหลักการออนโทโลจี-."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556. Print. Michael Brueckner , กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต , จักรกฤษณ์ เสน่ห์ นมะหุต . การพัฒนาระบบการช่วยให้คำแนะนำสำหรับผู้สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษด้วยหลักการออนโทโลจี-. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2556.
|