ชื่อเรื่อง | : | การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ |
นักวิจัย | : | วาทินี รจิตบูรณะกุล |
คำค้น | : | การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา , ลิขสิทธิ์ -- การกระจายเสียง , การละเมิดลิขสิทธิ์ , Copyright -- Broadcasting , Copyright infringement |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธัชชัย ศุภผลศิริ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746347837 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47178 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาที่มาและลักษณะการให้ความคุ้มครองสิทธิแพร่เสียงแพร่ภาพ โดยการศึกษาจากกฎหมายของต่างประเทศ และอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่ามีการให้ความคุ้มครองระดับใดรวมทั้งศึกษาถึงความเหมาะสมของการให้ความคุ้มครองงานแพร่เสียแพร่ภาพด้วย ผลของการวิจัยพบว่าเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะการแพร่เสียงแพร่ภาพ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่อาจจะครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งมีดังนี้ 1. กานับอายุการคุ้มครองงานแพร่เสียงแพร่ภาพ ม.21 บัญญัติให้เริ่มนับอายุการคุ้มครองนับแต่สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณางานครั้งแรก แต่สำหรับงานแพร่เสียงแพร่ภาพโดยสภาพแล้วลักษณะงาน การสร้างสรรค์ และการแสดงออกต่อสาธารณชนมีความกลมกลืนอยู่ในตัวแล้ว เนื่องจากการสร้างสรรค์งานแพร่เสียงแพร่ภาพได้เริ่มเมื่อมีการสื่อสารสู่สาธารณชน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนับอายุการคุ้มครองควรเริ่มนับตั้งแต่สร้างสรรค์งานหรือนับแต่เมื่อมีการแพร่เสียงแพร่ภาพเกิดขึ้น 2. การกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม ไม่ครอบคลุมการลักลอบดักรับสัญญาณผ่านดาวเทียมโดยฉ้อฉล, การใช้อุปกรณ์ถอดรหัสสัญญาณโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งในกฎหมายต่างประเทศเช่น ประเทศอังกฤษ บัญญัติให้เป็นความผิด และบัญญัติให้บุคคลผู้จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือดังกล่าว ต้องรับผิดในการกระทำละเมิดทางอ้อมในขณะที่กฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว 3. ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ม.32 บัญญัติการใช้งานเพื่อประโยชน์ขอบตนเองไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ปัจจุบันประชาชนสามารถลักลอบรับสัญญาณผ่านดาวเทียม เพื่อชมและฟังภายในบ้านได้ โดยไม่ถือเป็นกระความผิด ทำให้มีการใช้งานแพร่เสียงแพร่ภาพอย่างแพร่หลายโดยไม่ขออนุญาตจากองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพทำให้องค์กรไม่สามารถควบคุมการใช้งานได้ อีกทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยไม่มีบทบัญญัติ เรื่องสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เชิงบังคับ และไม่มีองค์กรบริหารการจัดเก็บค่าใช้ลิขสิทธิ์ ดังนั้นจึงควรกำหนดการใช้งานดังกล่าวเป็นการอนุญาตเชิงบังคับ 4. เรื่องกระบวนการได้มาซึ่งพยานหลักฐาน การที่โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งให้ตรวจสอบหรือค้นหาพยานหลักฐาน, ยึดหรืออายัดพยานหลักฐานที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย กฎหมายไทยมิได้กำหนดให้โจทก์ต้องรับรองความเสียหายที่เกิดแก่จำเลย ถ้าโจทก์แพ้คดี |
บรรณานุกรม | : |
วาทินี รจิตบูรณะกุล . (2539). การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วาทินี รจิตบูรณะกุล . 2539. "การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วาทินี รจิตบูรณะกุล . "การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. วาทินี รจิตบูรณะกุล . การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|