ชื่อเรื่อง | : | Development of measure for efficiency evaluation of hospital pharmacy service in district hospitals , การพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพระบบเภสัชกรรมในโรงพยาบาลชุมชน |
นักวิจัย | : | จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ , กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ , Supon Limwattananon , Chulaporn Limwattananon , Kitti Pitaknitinan , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะเภสัชศาสตร์ , Mahasarakham University. Faculty of Pharmacy , สุพล ลิมวัฒนานนท์ , Thananan Rattanachotphanit , ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช |
คำค้น | : | Quality of Health Care , Health Service Systems , Pharmacy Services, Hospital , Pharmacy , การพัฒนาคุณภาพบริการ , ระบบบริการสุขภาพ , เภสัชกรรมของโรงพยาบาล, การบริการ , เภสัชกรรม , การบริการสาธารณสุข , Measurement , Efficiency , Hospital pharmacy service , Data envelopment analysis , เครื่องมือ , ประสิทธิภาพ , งานเภสัชกรรม |
หน่วยงาน | : | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://hdl.handle.net/11228/1957 , WX179 ธ144ก 2549 , ABSTRACT[ENGISH]/abs/res/hs1321e.doc , DOWNLOAD FULLTEXT[THAI]/fullt/res/hs1321.zip , 48ค037 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | th |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ชื่อหน้าปก: โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพระบบเภสัชกรรมในโรงพยาบาลชุมชน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพระบบเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชนด้วยการนำแบบจำลอง Data envelopment analysis มาประยุกต์ใช้ ผลการศึกษานำมาซึ่งตัวแปรที่สำคัญของปัจจัยนำเข้า คือ จำนวน full time equivalent ของเภสัชกร จำนวน full time equivalent ของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมและลูกจ้าง และตัวแปรผลผลิต 4 ด้านคือ 1) งานบริการจ่ายยา ได้แก่จำนวนใบสั่งยาที่ให้บริการสำหรับผู้ป่วยนอก และจำนวนใบสั่งยาที่ให้บริการสำหรับผู้ป่วยใน 2) งานบริหารเวชภัณฑ์ ได้แก่ มูลค่ายาที่จัดซื้อ มูลค่ายาคงคลัง และมูลค่ายาที่เบิกจ่ายออกจากคลัง 3) งานบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการบริบาลเภสัชกรรม และจำนวนผู้ป่วยในที่ได้รับบริการบริบาลเภสัชกรรม และ 4) งานคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ จำนวนครั้งในการออกเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ในชุมชน และจำนวนครั้งในการออกตรวจสอบสถานประกอบการในชุมชน จากการนำแบบจำลอง DEA มาใช้ประเมินประสิทธิภาพในฝ่ายเภสัชกรรม ทำให้เห็นว่าในกลุ่มที่ศึกษามีความแตกต่างกันในระดับของความมีประสิทธิภาพ เมื่อนำผลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับการประเมินในเชิงจิตวิสัย พบว่ามีความสอดคล้องกัน และจากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลอง DEA ในระหว่าง 2 ช่วงเวลา พบว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนประสิทธิภาพที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง DEA เป็นไปในทางสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนำเข้า และผลผลิตของฝ่ายเภสัชกรรม |
บรรณานุกรม | : |
จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ , กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ , Supon Limwattananon , Chulaporn Limwattananon , Kitti Pitaknitinan , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะเภสัชศาสตร์ , Mahasarakham University. Faculty of Pharmacy , สุพล ลิมวัฒนานนท์ , Thananan Rattanachotphanit , ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช . (). .
: . จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ , กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ , Supon Limwattananon , Chulaporn Limwattananon , Kitti Pitaknitinan , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะเภสัชศาสตร์ , Mahasarakham University. Faculty of Pharmacy , สุพล ลิมวัฒนานนท์ , Thananan Rattanachotphanit , ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช . . "".
: . |