ชื่อเรื่อง | : | ผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | สมชาย สุนทรวีระ |
คำค้น | : | อาคาร -- ผลกระทบจากแผ่นดินไหว , การวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์) , แผ่นดินไหว , Earthquakes , Structural analysis (Engineering) , Buildings -- Earthquake effects |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย , ทักษิณ เทพชาตรี |
ปีพิมพ์ | : | 2534 |
อ้างอิง | : | 9745795917 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46858 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างภายใต้การกระทำของแผ่นดินไหวโดยใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์ ส่องทฤษฎี คือ ทฤษฎีสถิตศาสตร์ (Statics) และทฤษฎีพลศาสตร์ (Dynamics) การวิเคราะห์โครงสร้างในงานวิจัยนี้ใช้วิธีอินติเกรตโดยตรง (Direct Integration Method) วิธีค่าสูงสุดของการตอบสนอง (Response Spectrum) และวิธีแรงสถิตศาสตร์เทียบเท่า (Equivalent Static Force Method) ตามหลักการของ UBC ในการวิเคราะห์โดยวิธีอินติเกรตโดยตรงใช้ข้อมูลแผ่นดินไหวที่ได้จำลองโดยอาศัยค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่มากที่สุดในเอกสารอ้างอิงที่ (19) ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระหว่างปี พ.ศ. 2455 ถึง พ.ศ. 2532 โดยมีค่าความเร่งสูงสุดที่ระดับผิวดินเท่ากับ 0.058g เมตร/ วินาที2 ส่วนการวิเคราะห์โดยวิธีค่าสูงสุดของการตอบสนองใช้กราฟค่าสูงสุดของการตอบสนองในเอกสารอ้างอิงที่ (18) ซึ่งได้จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจริงในเขตกรุงเทพมหานคร ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ ได้นำหลักทฤษฎีพลศาสตร์มาประยุกต์กับไมโครคอมพิวเตอร์ และได้พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างระบบ เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ใช้วิธีการทำซ้ำในสเปซย่อย (Subspace Iteration Method) ในการแก้ปัญหาเจาะจง (Eigenproblem) และใช้วิธี Square Root Sum Square เพื่อวิเคราะห์หาการตอบสนองของโครงสร้างโดยวิธีค่าสูงสุดของการตอบสนอง (Response Spectrum) จากการศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรมที่ได้จากการวิจัย สามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรม ETABS ซึ่งใช้วิธี Root Mean Square พิจารณา 2 มิติ จะมีความคลาดเคลื่อนของระยะเอนด้านข้างและแรงภายใน ประมาณ 0.30-7.89 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อพิจารณา 3 มิติจะมีความคลาดเคลื่อนสำหรับระยะเอนด้านข้างและแรงภายในในช่วง 0.10-17.80 เปอร์เซ็นต์ โดยการพิจารณาผลไม่เกิด 3 โหมด ผลการเปรียบเทียบผลการตอบสนอง ซึ่งพิจารณาผลการรวมโหมดพบว่าการรวมโหมด 3 โหมดจะมีความถูกต้องมากเพียงพอ นอกจานี้สำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 7.15 ชั้น ผลการวิเคราะห์โดยวิธีสถิตศาสตร์เทียบเท่าตามวิธีของ UBC โดยให้กรุงเทพอยู่ในโซน 1 จะให้ค่าการตอบสนองที่มากกว่าวิธีค่าสูงสุดของการตอบสนอง |
บรรณานุกรม | : |
สมชาย สุนทรวีระ . (2534). ผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมชาย สุนทรวีระ . 2534. "ผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมชาย สุนทรวีระ . "ผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534. Print. สมชาย สุนทรวีระ . ผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.
|