ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ |
นักวิจัย | : | เรวดี จันทเปรมจิตต์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชนิตา รักษ์พลเมือง , วิพรรณ ประจวบเหมาะ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2557 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46389 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ ใน 2 พื้นที่ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี คือ ชุมชนบ้านสมานมิตร (นามสมมติ) สิงห์บุรี และชุมชนบ้านจิตอารีย์ (นามสมมติ) จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยใช้การศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลชุมชนละ 2 เดือนโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 137 คน และการสนทนากลุ่มผู้สูงอายุชุมชนละ 3 กลุ่ม หลังจากนั้นได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย แล้วนำรูปแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ไปพัฒนาด้วยการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยนำรูปแบบการเรียนรู้ที่วิเคราะห์ได้ไปทดลองใช้ที่ชุมชนบ้านดนตรีเสนาะ (นามสมมติ) จังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ที่ได้รับการพัฒนาในชุมชนบ้านดนตรีเสนาะ (นามสมมติ) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวคิด/หลักการ คือ ใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้และแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ การทำงานหารายได้ การเป็นอาสาสมัคร การดูแลครอบครัว การสืบสานวัฒนธรรม ส่วนที่ 3 องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย โครงสร้างการดำเนินงานของชุมชน ซึ่งมีชมรมผู้สูงอายุเป็นหลัก ประสานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล รวมทั้งมีการขยายภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน กระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักถึงปัญหาของผู้สูงอายุ 2) การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม 3) การให้ความรู้แก่ชุมชน 4) การจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุ 5) การจัดตั้งกลุ่มการเรียนรู้ 6) การส่งเสริมการทำงานหารายได้และกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ และ 7) การประเมินผล แบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมมี 5 แบบคือ แบบกระบวนการกลุ่ม แบบประสบการณ์ แบบมีส่วนร่วม แบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการเรียนรู้แบบเครือข่าย ปัจจัยเสริมหนุนประกอบด้วยผู้นำ ทรัพยากร ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ นโยบายและแผนงานรัฐ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบการเรียนรู้ฯดังกล่าวไปใช้นั้น ชุมชนจะต้องมีกลุ่ม/องค์กรทำงานเป็นทีม มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีข้อมูลด้านผู้สูงอายุ มีภาคีเครือข่ายสนับสนุน มีระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีผู้สูงอายุที่มีความรู้และภูมิปัญญาเข้าร่วมดำเนินงาน |
บรรณานุกรม | : |
เรวดี จันทเปรมจิตต์ . (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรวดี จันทเปรมจิตต์ . 2557. "การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรวดี จันทเปรมจิตต์ . "การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557. Print. เรวดี จันทเปรมจิตต์ . การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
|