ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | มณฑล หวานวาจา |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุจิตรา สุคนธทรัพย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ปีพิมพ์ | : | 2557 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46256 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในช่วงอายุ 15-59 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาโดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามทั้งฉบับอยู่ที่ 0.94 และทดสอบความเที่ยงได้เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. สื่อที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนมากที่สุด คือ โทรทัศน์ ร้อยละ 91.78 รองลงมา คือ เฟซบุ๊ค (Facebook) ร้อยละ 80.89 และเพื่อน ร้อยละ 80.00 สื่อที่มีการเปิดรับข่าวสารน้อยที่สุด คือ อาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 19.11 และช่วงเวลาที่ประชาชนเปิดรับข่าวสารมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 18.01 - 22.00 น. ร้อยละ 41.33 ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 87.2 มีทัศนคติต่อการป้องกันโรคอ้วน อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.00, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.20, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57) 2. เมื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) พบว่า การเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน แต่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.23 มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ส่วนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.28 คือ มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.16 มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ |
บรรณานุกรม | : |
มณฑล หวานวาจา . (2557). ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มณฑล หวานวาจา . 2557. "ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มณฑล หวานวาจา . "ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557. Print. มณฑล หวานวาจา . ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
|