ชื่อเรื่อง | : | อิทธิพลของออกซิเจนและความเค็มต่อเบนทิกฟลักซ์ของฟอสฟอรัสและซิลิกอนผ่านรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำบริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี |
นักวิจัย | : | นิรมล ตาอินทร์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย , เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล |
ปีพิมพ์ | : | 2557 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46033 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 ศึกษาอิทธิพลของออกซิเจนละลายน้ำและความเค็ม ที่มีผลต่อฟลักซ์ของฟอสเฟตและซิลิกาละลาย บริเวณรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำเหนือดินตะกอน บริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี โดยศึกษาในห้องปฏิบัติการในการทดลองในสภาวะมีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ที่ค่าความเค็ม 10, 15, 20, 25 และ 30 พบว่าฟลักซ์ของฟอสเฟตมีทิศทางจากดินตะกอนออกสู่มวลน้ำในสภาวะไร้ออกซิเจน ขณะที่ฟลักซ์จะมีทิศทางลงสู่ดินตะกอนในสภาวะที่น้ำมีออกซิเจน ส่วนค่าฟลักซ์ของซิลิกาละลายนั้นมีค่าไม่แตกต่างกันในทั้งสองสภาวะ แต่ที่ความเค็มสูงการละลายของซิลิกาจะลดลง ส่งผลให้ค่าฟลักซ์ของซิลิกาละลายจากดินตะกอนสู่น้ำลดลง จากการทดลองหาฟลักซ์ของสารอาหารในเบนทิกแชมเบอร์ชนิดโปร่งใสและทึบแสงในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ดินตะกอนและน้ำทะเลความเค็ม 30 จากชายฝั่งอ่างศิลา พบว่าออกซิเจนละลายน้ำในแชมเบอร์ชนิดทึบแสงลดลงตามเวลา จนกระทั่งออกซิเจนละลายน้ำหมดลง เมื่อเวลาผ่านไป 40 ชั่วโมง ส่วนออกซิเจนละลายน้ำในแชมเบอร์ชนิดโปร่งใสเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามรอบวัน ค่าออกซิเจนละลายน้ำในแชมเบอร์ทั้งสองมีค่าต่ำทั้งคู่ เนื่องจากน้ำทะเลและดินตะกอนชายฝั่งอ่างศิลามีสารอินทรีย์สูง ออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชในแชมเบอร์โปร่งใส จึงถูกแบคทีเรียใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์ จนมีค่าต่ำในทั้งสองแชมเบอร์ อย่างไรก็ดี ผลการทดลองพบว่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำและความเค็มของน้ำในแชมเบอร์ มีผลต่อฟลักซ์ของสารอาหารบริเวณรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำ โดยฟลักซ์ของฟอสเฟตในแชมเบอร์โปร่งใสและทึบแสง มีค่าอยู่ในช่วง (-94.00) – 474.00 และ (-11.59) – 222.00 ไมโครโมล/ตารางเมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ ส่วนฟลักซ์ของซิลิกาละลาย มีค่าอยู่ในช่วง (-160.97) – 528.0 และ (-169.24) – 258.0 ไมโครโมล/ตารางเมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ ทั้งนี้ฟลักซ์ของฟอสเฟตมีแนวโน้มออกจากดินตะกอนสู่มวลน้ำ และฟลักซ์ในแชมเบอร์ทึบแสงมีค่าสูงกว่าในแชมเบอร์โปร่งใส ขณะที่ฟลักซ์ของซิลิกาละลายในแชมเบอร์ทั้งสองชนิด มีความแตกต่างกันน้อย แต่ในช่วง 30 ชั่วโมงแรก ฟลักซ์ของซิลิกาละลายมีทิศทางจากตะกอนดินตะกอนสู่มวลน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในช่วงชั่วโมงที่ 30 ถึง 60 ทิศทางของฟลักซ์จะมีทิศทางจากมวลน้ำลงสู่ดินตะกอน หลังจากนั้น แทบจะไม่มีฟลักซ์ของซิลิกาละลาย ณ บริเวณรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำเหนือดินตะกอนเลย |
บรรณานุกรม | : |
นิรมล ตาอินทร์ . (2557). อิทธิพลของออกซิเจนและความเค็มต่อเบนทิกฟลักซ์ของฟอสฟอรัสและซิลิกอนผ่านรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำบริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิรมล ตาอินทร์ . 2557. "อิทธิพลของออกซิเจนและความเค็มต่อเบนทิกฟลักซ์ของฟอสฟอรัสและซิลิกอนผ่านรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำบริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิรมล ตาอินทร์ . "อิทธิพลของออกซิเจนและความเค็มต่อเบนทิกฟลักซ์ของฟอสฟอรัสและซิลิกอนผ่านรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำบริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557. Print. นิรมล ตาอินทร์ . อิทธิพลของออกซิเจนและความเค็มต่อเบนทิกฟลักซ์ของฟอสฟอรัสและซิลิกอนผ่านรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำบริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
|