ชื่อเรื่อง | : | การเมืองในการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาการกำหนดงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ |
นักวิจัย | : | เพิ่มพล กันเทพา |
คำค้น | : | Civic leaders -- Thailand -- Sisaket , Local budgets -- Thailand -- Sisaket , Local government -- Thailand -- Sisaket , ผู้นำชุมชน -- ไทย -- ศรีสะเกษ , นโยบายการเงิน -- ไทย -- ศรีสะเกษ , งบประมาณจังหวัด -- ไทย -- ศรีสะเกษ , องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ศรีสะเกษ , การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- ศรีสะเกษ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ , ตระกูล มีชัย |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45096 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | งานวิจัยนี้ศึกษาการเมืองท้องถิ่นผ่านการกำหนดงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาในเชิงการเมืองและกระบวนการจัดทำงบประมาณเพื่อตอบคำถามว่ากระบวนการกำหนดนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ถูกกำหนดขึ้นมาอย่างไร มีวิธีการ ขั้นตอน การตัดสินใจ มีตัวแสดงใดที่เข้ามาเกี่ยวข้องและมีการจัดสรรงบประมาณไปสู่นโยบายอย่างไร รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองระดับท้องถิ่นว่ามีความทับซ้อนและเกื้อหนุนกันอย่างไร โดยทำการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร เช่น ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 รายงานการประชุมสภา แผนพัฒนาตำบล และข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก นักการเมือง ข้าราชการประจำและการสนทนากลุ่มกับประชาชนในแต่ละตำบล ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์เอกสาร และการพรรณนาวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์และการสังเกต เป็นส่วนประกอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดนโยบายการตัดสินใจในเชิงนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกกำหนดขึ้นมาจากความต้องการของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ ฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนมีบทบาทเป็นผู้ที่เสนอปัญหาและความต้องการผ่านขั้นตอนประชาคมหมู่บ้าน ส่วนในขั้นตอนอื่น ๆ ของการจัดทำงบประมาณประชาชนไม่มีส่วนร่วมในแง่การตัดสินใจและการบริหารงบประมาณ อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่นักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการประจำ การจัดสรรงบประมาณเป็นการกระจายผลประโยชน์แก่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งภายในสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่นระดับจังหวัดได้เข้ามามีบทบาทต่อองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากฐานคะแนนเสียงและผลประโยชน์ของนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองระดับท้องถิ่นทับซ้อนและเกื้อหนุนกัน วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
บรรณานุกรม | : |
เพิ่มพล กันเทพา . (2555). การเมืองในการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาการกำหนดงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพิ่มพล กันเทพา . 2555. "การเมืองในการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาการกำหนดงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพิ่มพล กันเทพา . "การเมืองในการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาการกำหนดงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. เพิ่มพล กันเทพา . การเมืองในการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาการกำหนดงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|