ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล |
นักวิจัย | : | พรพรรษ์ ภู่กฤษณา |
คำค้น | : | Marine parks and reserves , Nature conservation , Conscientization , Learning , อุทยานทางทะเล , การอนุรักษ์ธรรมชาติ , การสร้างจิตสำนึก , การเรียนรู้ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ , มนัสวาสน์ โกวิทยา |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45068 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรณีศึกษาที่ดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเลและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารและบุคลากรฝ่ายการอนุรักษ์ปะการัง ของกรมทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน 2) องค์กรพัฒนาเอกชนในการอนุรักษ์ปะการัง 3) อาจารย์มหาวิทยาลัยและ 4) ประชาชนในชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และจัดการสนทนากลุ่มเพื่อให้ได้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล ผลการวิจัยพบว่า 1) กรณีศึกษาที่ดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล ในด้านสภาพของบริบทพื้นที่ของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล รูปแบบกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการังของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเลและปัญหาของกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการังของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง อุทยานแห่งชาติทางทะเลเขาแหลมหญ้า-เกาะเสม็ด ชุมชนบริเวณเกาะหวาย จังหวัดตราด อุทยานแห่งชาติทางทะเลเกาะช้าง และชุมชนบริเวณเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะอ่างทอง พบว่า สภาพบริพื้นที่ของชุมชนทั้ง 3 พื้นที่มีลักษณะเหมือนกัน คือ มีน้ำทะเลใส มีแนวปะการังที่สวยงาม มีความสมบูรณ์ของแนวปะการัง มีหาดทรายขาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ส่วนในเรื่องของรูปแบบกิจกรรมนั้นชุมชนทั้ง 3 พื้นที่มีลักษณะที่คล้ายกันอยู่ 2 พื้นที่ คือ ชุมชนบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง อุทยานแห่งชาติทางทะเลเขาแหลมหญ้า-เกาะเสม็ดและชุมชนบริเวณเกาะหวาย จังหวัดตราด อุทยานแห่งชาติทางทะเลเกาะช้างที่มีรูปแบบกิจกรรมในการอนุรักษ์ปะการังโดยการปลูกปะการังในท่อพีวีซีที่เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างในเรื่องกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการังที่มีในเกาะหวาย คือ การมีศูนย์อนุรักษ์ทางทะเล ที่มูลนิธิวัฒนธรรมและการศึกษานานาชาติ (International Cultural and Education Foundation : ICEF) ให้นักท่องเที่ยวหรือบุคคลที่สนใจในเรื่องการอนุรักษ์ปะการังได้ศึกษา เรียนรู้และร่วมกันปลูกปะการัง ส่วนในเรื่องปัญหาของกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการังของชุมชนใน 3 พื้นที่ มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เรื่องการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและการได้รับความร่วมมือของประชนในพื้นที่ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล ใน 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านผู้ดำเนินกิจกรรม 3) ด้านเนื้อหากิจกรรม 4) ด้านกิจกรรม 5) ด้านสื่อ และ 6) ด้านการวัดและประเมินผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง พบว่าความต้องการส่วนใหญ่ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ ต้องการความสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐในด้านงบประมาณ ด้านความรู้ ด้านสื่อ และด้านการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านผู้ดำเนินกิจกรรม ต้องการพัฒนาศักยภาพในด้านการสื่อสาร โดยการใช้แบบประเมิน 3) ด้านเนื้อหากิจกรรม ความต้องให้มีเนื้อหาในแต่ละบริบทของพื้นที่ เช่น จุดเด่น-จุดด้อยของทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ 4) ด้านกิจกรรม ต้องการรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 5) ด้านสื่อ ต้องการสื่อที่มีความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและการเพิ่มปริมาณของสื่อในเรื่องของการอนุรักษ์ปะการัง และ 6) ด้านการวัดและประเมินผล ต้องการให้มีการวัดการประเมินผลในด้านการอนุรักษ์ปะการังเกิดขึ้นจริงตามลักษณะความเป็นจริงของพื้นที่ 3) นำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง 2) ด้านผู้ดำเนินกิจกรรมการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง 3) ด้านเนื้อหากิจกรรมการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง 4) ด้านรูปแบบกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง 5) ด้านสื่อในการการอนุรักษ์ปะการัง 6) ด้านการวัดและการประเมินผลกิจกรรมในการอนุรักษ์ปะการัง พบว่าความต้องการส่วนใหญ่ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง ต้องการพัฒนาและกำหนดด้านวัตถุประสงค์และการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐในด้านงบประมาณ ด้านความรู้ ด้านสื่อ แหล่งเรียนรู้ และด้านการดำเนินกิจกรรม 2) ด้านผู้ดำเนินกิจกรรมการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง ต้องการสร้างผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ มีการพัฒนาสมรรถนะ ศักยภาพ และการทำงานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย 3) ด้านเนื้อหากิจกรรมการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง พัฒนาหลักสูตรระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชนในการกำหนดรูปแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ 4) ด้านรูปแบบกิจกรรมการอนุรักษ์ปะการัง มีรูปแบบกิจกรรมตามวัย มีความหลากหลายเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 5) ด้านสื่อในการการอนุรักษ์ปะการัง ต้องการสื่อที่มีความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและการเพิ่มปริมาณของสื่อในเรื่องของการอนุรักษ์ และมีแหล่งเรียนรู้ 6) ด้านการวัดและการประเมินผลกิจกรรมในการอนุรักษ์ปะการัง ต้องการให้มีการวัดและการประเมินผลในภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและมีการพัฒนาให้เกิดขึ้นจริง ตามบริบทของพื้นที่ วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
บรรณานุกรม | : |
พรพรรษ์ ภู่กฤษณา . (2555). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรพรรษ์ ภู่กฤษณา . 2555. "แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรพรรษ์ ภู่กฤษณา . "แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. พรพรรษ์ ภู่กฤษณา . แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติของชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|