ชื่อเรื่อง | : | วาทกรรมการเดินทางในกวีนิพนธ์ฉือราชวงศ์ซ่ง |
นักวิจัย | : | ภูริวรรณ วรานุสาสน์ |
คำค้น | : | วจนะวิเคราะห์ , วรรณกรรมจีน -- วจนะวิเคราะห์ , กวีนิพนธ์จีน -- วจนะวิเคราะห์ , การเดินทาง -- ปรัชญา , จีน -- ประวัติศาสตร์ -- ราชวงศ์ซ่ง, ค.ศ. 960-1279 , ปริญญาดุษฎีบัณฑิต , Chinese literature -- Discourse analysis , Voyages and travels -- Philosophy , China -- History -- Song dynasty, 960-1279 , Chinese poetry -- Discourse analysis |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ , ตรีศิลป์ บุญขจร , สุรีย์ ชุณหเรืองเดช |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44633 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์วาทกรรมการเดินทางในกวีนิพนธ์ฉือราชวงศ์ซ่ง และศึกษาบริบททางสังคม วัฒนธรรมและความเชื่อสมัยราชวงศ์ซ่ง ในวัฒนธรรมจีน การเดินทางเป็นกิจกรรมซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการดำเนินชีวิตและเป็นรูปแบบการจำลองการดำเนินชีวิตมนุษย์ จุดหมายปลายทางของการเดินทางคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ในกวีนิพนธ์ฉือราชวงศ์ซ่งพบว่า การเดินทางประกอบไปด้วยวาทกรรมหลัก 3 ชุด ได้แก่ วาทกรรมการเดินทางคือวิถีสู่อุดมการณ์ชีวิต วาทกรรมการเดินทางคือการกลับคืนสู่ธรรมชาติ และการเดินทางคือการหลุดพ้น วาทกรรมการเดินทางคือวิถีสู่อุดมการณ์ชีวิต เป็นวาทกรรมที่สัมพันธ์กับแนวคิดปรัชญาขงจื๊อที่สร้างขึ้นเพื่อรับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองและการจัดระเบียบสังคม โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการเป็นจริยบุคคลและความสงบสันติในสังคมภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ขณะที่วาทกรรมการเดินทางคือการกลับคืนสู่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อตอบโต้วาทกรรมชุดแรก เป็นวาทกรรมที่สัมพันธ์กับแนวคิดปรัชญาเต๋า ให้ความสำคัญต่อการกลมกลืนกับธรรมชาติและการใช้ชีวิตเรียบง่าย โดยเฉพาะการให้คุณค่าต่อความเป็นปัจเจกบุคคลและอิสรภาพแห่งการดำเนินชีวิต เป้าหมายสูงสุดคือการเป็นอริยบุคคลและการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ส่วนวาทกรรมการเดินทางคือการหลุดพ้นเป็นวาทกรรมทางเลือกที่สัมพันธ์กับพุทธปรัชญา ไม่ได้มุ่งเน้นการเดินทางทางกายภาพ หากแต่ให้ความสำคัญกับการฝึกจิตให้เป็นผู้ตื่นจากอวิชชาเพื่อไปสู่การเป็นพุทธะ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการดับทุกข์และการเบิกบานแช่มชื่นในทุกที่ กล่าวได้ว่าเมื่อหลุดพ้นจากความทุกข์แล้วก็คือการยุติการเดินทาง อย่างไรก็ตาม จากบริบททางสังคมสมัยราชวงศ์ซ่งที่มีการนำปรัชญาขงจื๊อ เต๋าและพุทธมาหลอมรวมก่อกำเนิดเป็นแนวคิดใหม่คือขงจื๊อใหม่ ทำให้วาทกรรมที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ฉือมีทั้งการตอบโต้และผสมผสานของวาทกรรมชุดต่างๆได้อย่างลงตัว เป็นเอกลักษณ์สำคัญของกวีนิพนธ์และวรรณคดีสมัยราชวงศ์ซ่งและยังส่งอิทธิพลต่อวรรณกรรมยุคต่อมาของจีนจนถึงปัจจุบัน |
บรรณานุกรม | : |
ภูริวรรณ วรานุสาสน์ . (2555). วาทกรรมการเดินทางในกวีนิพนธ์ฉือราชวงศ์ซ่ง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูริวรรณ วรานุสาสน์ . 2555. "วาทกรรมการเดินทางในกวีนิพนธ์ฉือราชวงศ์ซ่ง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูริวรรณ วรานุสาสน์ . "วาทกรรมการเดินทางในกวีนิพนธ์ฉือราชวงศ์ซ่ง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. ภูริวรรณ วรานุสาสน์ . วาทกรรมการเดินทางในกวีนิพนธ์ฉือราชวงศ์ซ่ง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|