ชื่อเรื่อง | : | การประกอบสร้าง“ความเป็นลาว”ในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย |
นักวิจัย | : | วิทยา วงศ์จันทา |
คำค้น | : | ชาวลาว , วรรณกรรมไทย -- แง่สังคม , วรรณกรรมไทย -- ประวัติและวิจารณ์ , ภาพยนตร์ไทย -- แง่สังคม , ภาพยนตร์ไทย -- ประวัติและวิจารณ์ , Laotians , Thai literature -- Social aspects , Thai literature -- History and criticism , Motion pictures, Thai -- Social aspects , Motion pictures, Thai -- History and criticism |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ , ตรีศิลป์ บุญขจร |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45441 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประกอบสร้าง “ความเป็นลาว” ในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยและวิเคราะห์บริบททางสังคมและวัฒนธรรมในการนำเสนอภาพแทน “ความเป็นลาว” ในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยจำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ วรรณกรรมเยาวชน 2 เรื่อง คือ ลูกแม่น้ำโขง (2544) และ เพื่อนรักริมโขง (2547) ของ “เข็มชาติ” นวนิยาย 2 เรื่อง คือ สาปภูษา (2550) และ รอยไหม (2550) ของ “พงศกร” กวีนิพนธ์ 1 เรื่อง คือ เขียนแผ่นดินสุวรรณภูมิลาว (2551) ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ ภาพยนตร์ 2 เรื่อง คือ สะบายดีหลวงพระบาง (2551) และ ไม่มีคำตอบจากปากเซ (2553) จากการศึกษาพบว่าความหมายของ “ความเป็นลาว” ที่ถูกสร้างขึ้นในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยมีลักษณะทั้งผสมผสานและย้อนแย้งในตัวเอง คือ ในยุคล่าอาณานิคม “ความเป็นลาว” ที่หมายถึงการโหยหาอดีตของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันรุ่งเรือง ในยุคหลังสงครามเย็น“ความเป็นลาว” ถูกนำเสนอถึงมิตรภาพอันปราศจากอคติร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นแถบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และในยุคโลกาภิวัตน์ “ความเป็นลาว” หมายถึงดินแดนแห่งความสุข สำหรับการค้นหาความหมายของชีวิต เพราะเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่และทรงคุณค่า ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยทั้ง 7 เรื่องแสดงให้เห็นถึงภาพแทน “ความเป็นลาว” ซึ่งเป็นผลของการประกอบสร้างทางประวัติศาสตร์ (Historical Construct) ที่เลื่อนไหลไปตามบริบททางสังคมและการเมืองระหว่างไทยกับลาวที่ส่งผลต่อการมองคนลาวในสายตาของคนไทย |
บรรณานุกรม | : |
วิทยา วงศ์จันทา . (2555). การประกอบสร้าง“ความเป็นลาว”ในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยา วงศ์จันทา . 2555. "การประกอบสร้าง“ความเป็นลาว”ในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยา วงศ์จันทา . "การประกอบสร้าง“ความเป็นลาว”ในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. วิทยา วงศ์จันทา . การประกอบสร้าง“ความเป็นลาว”ในวรรณกรรมและสื่อภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|