ชื่อเรื่อง | : | ผลกระทบของสารสกัดจากหม่อนต่อการสร้างไบโอฟิลม์ของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ |
นักวิจัย | : | พิทยา ใหม่ตา |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เขมาภรณ์ บุญบำรุง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44209 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 Pseudomonas aeruginosa จัดเป็นเชื้อฉวยโอกาสที่เป็นปัญหาสำคัญส่งผลกระทบไปทั่วโลก พบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิดโดยผ่านหลายกลไก อาทิเช่น การสร้างเอนไซม์ การปรับเปลี่ยนเป้าหมายที่จับของยา การขับดันยาออกนอกเซลล์ และการสร้างไบโอฟิล์มเพื่อปกป้องเซลล์ กลไกเหล่านี้สามารถพบร่วมกันได้ในเชื้อชนิดหนึ่งๆ ทำให้อัตราการดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นที่วิตก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการสร้างไบโอฟิล์ม การดื้อต่อยาปฏิชีวนะ และผลกระทบของสารสกัดจากใบหม่อนต่อกลุ่มตัวอย่างเชื้อ P. aeruginosa ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ ผลทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ 11 ชนิด ด้วยวิธี disc diffusion มีอัตราการดื้อต่อ quinolones (50%), third generation cephalosporins (46.3%) และ β-lactam/inhibitor (38.2%) ตามลำดับ จำแนกเป็น multidrug resistant P. aeruginosa จำนวน 69 จาก 136 สายพันธุ์ ผลทดสอบความสามารถสร้างไบโอฟิล์ม โดยการย้อมด้วย 0.1% crystal violet แบ่งระดับตาม SBF Index พบ สูงสุด (59%) ปานกลาง (11.0%) เล็กน้อย (9.6%) และ ไม่พบ (21%) ทั้งนี้พบเชื้อดื้อยาชนิด MDR P. aeruginosa ในกลุ่มเชื้อที่สร้างไบโอฟิล์ม (55%) มากกว่าเชื้อที่ไม่สร้างไบโอฟิล์ม (45%) ไม่พบผลกระทบของสารสกัดใบหม่อนด้วยตัวทำละลายอีเทอร์ต่อโครงสร้างไบโอฟิล์ม ในทางตรงกันข้ามที่ความเข้มข้น 64 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร กลับทำให้ไบโอฟิล์มเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p-value <0.000) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ความเข้มข้น 32 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถลดจำนวนเชื้อที่อยู่ในสภาวะไบโอฟิล์มลงได้อย่างมีนัยสำคัญ (p-value =0.001) โดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่สร้างไบโอฟิล์มในระดับต่ำ (weak) นั้นจะมีจำนวนลดลงมากที่สุด จากผลการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ พบยีน pqsA สามารถใช้เป็นตัวแทนทดสอบการสร้างไบโอฟิล์มได้ พบว่ามีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p-value =0.009) และมีความจำเพาะ 78.57% ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาเชื้อที่สร้างไบโอฟิล์มได้ โดยการออกฤทธ์ร่วมกันของยาปฏิชีวนะกับสารที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างไบโอฟิล์ม |
บรรณานุกรม | : |
พิทยา ใหม่ตา . (2556). ผลกระทบของสารสกัดจากหม่อนต่อการสร้างไบโอฟิลม์ของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิทยา ใหม่ตา . 2556. "ผลกระทบของสารสกัดจากหม่อนต่อการสร้างไบโอฟิลม์ของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิทยา ใหม่ตา . "ผลกระทบของสารสกัดจากหม่อนต่อการสร้างไบโอฟิลม์ของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. พิทยา ใหม่ตา . ผลกระทบของสารสกัดจากหม่อนต่อการสร้างไบโอฟิลม์ของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|