ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน |
นักวิจัย | : | เอมิกา กลยนี |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อารีย์วรรณ อ่วมตานี , เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43723 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ รายได้ ระยะเวลาการดูแล ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ความเข้มแข็งในการมองโลก ภาระในการดูแลผู้ป่วย และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากโรงพยาบาลศูนย์ที่มีคลินิกจิตเวช ในเขตภาคกลาง จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก แบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบสอบถามภาระในการดูแล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และคำนวณหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ เท่ากับ .85, .92, .90, .92 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. คะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 82.86, SD = 8.02) 2. ความเข้มแข็งในการมองโลก ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และการสนับสนุนทางสังคมมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .583, .564 และ .605 ตามลำดับ) 3. อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.216) 4. ภาระในการดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.629) 5. รายได้ของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท |
บรรณานุกรม | : |
เอมิกา กลยนี . (2556). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอมิกา กลยนี . 2556. "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอมิกา กลยนี . "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. เอมิกา กลยนี . ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|