ชื่อเรื่อง | : | การรับรู้และความคาดหวังด้านการบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย |
นักวิจัย | : | จิตรา ทองสุข |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อานนท์ วรยิ่งยง , พรชัย สิทธิศรัณย์กุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43603 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และความคาดหวังการบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก โดยศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิกที่อยู่แผนกต่างกัน และเปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิกที่เคยได้รับและไม่เคยได้รับการอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กลุ่มประชากรเป็นบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก จำนวน 6 แผนก ทั้งหมด 634 คน (ตำแหน่ง ลูกจ้างประจำ และ ลูกจ้างชั่วคราว สังกัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย) ได้แก่ หน่วยแม่บ้านและคนงาน หน่วยโภชนาการและพนักงานครัว หน่วยซักรีดและโรงซักฟอก หน่วยจ่ายกลาง หน่วยกำจัดขยะ และ หน่วยงานอื่นๆ (คนงานประจำห้องผ่าตัด และหน่วยวิสัญญี) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้ และความคาดหวังบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.90 และ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ unpaired t-test และ วิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variances) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. บุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก มีการรับรู้บริการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ด้านการจัดบริการสุขภาพอนามัย และด้านมาตรการความปลอดภัย อยู่ในระดับปานกลางส่วนการรับรู้ด้านการเฝ้าระวังและการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการอบรมและบริการวิชาการ อยู่ในระดับน้อย 2. บุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก มีความคาดหวังบริการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยด้านการจัดบริการสุขภาพอนามัย ด้านมาตรการความปลอดภัย ด้านการเฝ้าระวังและการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการอบรมและบริการวิชาการ อยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ และความคาดหวังต่อบริการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในโรงพยาบาลของบุคลากรสนับสนุนทางคลินิกที่อยู่แผนกต่างกัน และในบุคลากรสนับสนุนทางคลินิกที่เคย และไม่เคยได้รับการอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พบว่ามีระดับการรับรู้และความคาดหวังด้านการจัดบริการสุขภาพอนามัย ด้านมาตรการความปลอดภัย ด้านการเฝ้าระวังและการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการอบรมและบริการวิชาการ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับค่า p น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปประยุกต์เพื่อการวางแผนพัฒนา และดำเนินงาน ด้านบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการเฝ้าระวังและการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการอบรมและบริการวิชาการ ดังนั้น นโยบายการส่งเสริม การอบรมเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาในบุคลากรสนับสนุนทางคลินิกต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
จิตรา ทองสุข . (2556). การรับรู้และความคาดหวังด้านการบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตรา ทองสุข . 2556. "การรับรู้และความคาดหวังด้านการบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตรา ทองสุข . "การรับรู้และความคาดหวังด้านการบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. จิตรา ทองสุข . การรับรู้และความคาดหวังด้านการบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรสนับสนุนด้านคลินิก ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|