ชื่อเรื่อง | : | ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี |
นักวิจัย | : | สรวีย์ ศิริพิลา |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรรณี แกมเกตุ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43490 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู 2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียน ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ครู จำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่ม (focus group) 2 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (MAXQDA) ในการจัดกระทำข้อมูล 2) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. การใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของครู ในด้านความรู้สึกที่มีต่อการเตรียมการสอน ความรู้สึกที่มีต่อการแสวงหาความรู้ การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) โดยครูมีความคิดเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน เป็นไปในทางที่ดีขึ้น 2. การเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนของครู และการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู พบว่าครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยของเจตคติทางบวกต่อการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์-ภาษาไทย และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์-ภาษาไทย และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ และครูที่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน มีเจตคติทางบวกต่อการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน และมีการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่าครูที่ไม่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) 3. การใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในด้านต่างๆดังนี้ 1) คุณลักษณะของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีแรงจูงใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ทักษะพื้นฐานของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการคิดคำนวณ ตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับปานกลาง 4. การเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียน ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู พบว่าครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์-ภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการคิดคำนวณของนักเรียน สูงกว่าความคิดเห็นของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ครูที่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน มีความคิดเห็นว่าแท็บเล็ตส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนในทางบวกมากกว่าครูที่ไม่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน และครูที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป มีความคิดเห็นว่าการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียน ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน สูงกว่าครูที่มีประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
บรรณานุกรม | : |
สรวีย์ ศิริพิลา . (2556). ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สรวีย์ ศิริพิลา . 2556. "ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สรวีย์ ศิริพิลา . "ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. สรวีย์ ศิริพิลา . ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|