ชื่อเรื่อง | : | การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา |
นักวิจัย | : | ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เนาวนิตย์ สงคราม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43179 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและนำเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มในโรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม จำนวน 19 ท่าน โดยใช้เทคนิควิธีการวิจัยแบบเดลฟาย ข้อมูลรวบรวมโดยแบบสำรวจและแบบสอบถามเดลฟาย 3 รอบ เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ลักษณะและขนาดของห้องกิจกรรมการเรียนรู้ อุปกรณ์และสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครุภัณฑ์ภายในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ ระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศภายในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดการพื้นที่ภายในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า 1.ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลจาก ทฤษฎี งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มแบ่งได้เป็น 4 ขั้น ดังนี้ 1.ขั้นสืบค้นข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เรียนสนใจด้วยตัวเอง 2.ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม 3.ขั้นทดลองและปฏิบัติงานจริง 4.ขั้นนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจากการศึกษาห้องเรียนที่ใช้จัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นกระเบื้อง ผนังปูน มีพื้นที่กิจกรรม พื้นที่นำเสนอผลงาน พื้นที่สืบค้น และพื้นที่ให้คำปรึกษาจากผู้สอน อุปกรณ์และสื่อประกอบการเรียนการสอนที่พบมากคือ กระดานไวท์บอร์ด กระดานชอล์ก โต๊ะและเก้าอี้ของผู้เรียนเป็นแบบตายตัว กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมแบบกลุ่ม จัดกิจกรรมเชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้วยผังความคิด ค้นคว้าด้วยตัวเอง มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะวิชาพื้นฐาน 2. ผลจากการศึกษาด้วยเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย ผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นสอดคล้องกับข้อความ 149 ข้อ จากจำนวน 188 ข้อ สรุปได้ว่าห้องกิจกรรมการเรียนรู้เป็นพื้นเรียบทำด้วยไม้ขัดเงา ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร แบ่งพื้นที่เป็น 7 ส่วนคือ พื้นที่กิจกรรม พื้นที่สืบค้น พื้นที่นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิด พื้นที่ประชุมกลุ่มย่อย มุมให้คำปรึกษา มุมแสดงผลงานและบอร์ดให้ความรู้ และพื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะที่รวมจอภาพกับเคสไว้ด้วยกัน อัตราส่วนของนักเรียนต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เท่ากับ 5:1 ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย อุปกรณ์และสื่อการสอนประกอบด้วยกระดาน ไวท์บอร์ด โทรทัศน์ กระดานอัจฉริยะ ลักษณะโต๊ะทำกิจกรรมของผู้เรียนเป็นโต๊ะญี่ปุ่น ทรงกลม |
บรรณานุกรม | : |
ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์ . (2556). การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์ . 2556. "การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์ . "การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์ . การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|