ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไลโปโปรตีนไลเปสในผู้ป่วยที่มีไขมันไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ปกติ |
นักวิจัย | : | อรุณรัตน์ เกียรติปรุงเวช |
คำค้น | : | ไลโปโปรตีนไลเปส -- แง่พันธุศาสตร์ -- ความผันแปร , ภาวะระดับไทรกลีเซอไรด์สูงในเลือด , Lipoprotein lipase -- Genetic aspects -- Variation , Hypertriglyceridemia |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42690 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 ที่มา : ภาวะไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากมักเกิดจากสาเหตุร่วมกันระหว่างสาเหตุทางปฐมภูมิและทุติยภูมิ สาเหตุทางปฐมภูมิได้แก่ความผิดปกติทางพันธุกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสลายไทรกลีเซอไรด์ การศึกษานี้ทำการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน LPL ซึ่งถอดรหัสโปรตีนไลโปโปรตีนไลเปส ที่เป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการสลายไทรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยที่มีไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ในเลือดขณะอดอาหาร ≥ 886 มก. /ดล. (10 มิลลิโมล/ลิตร) อย่างน้อย 2 ครั้ง (n=90) และผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ < 150 มก./ดล. โดยไม่เคยได้ยาลดไขมันใดๆ (n=100) โดยจับคู่ตามอายุและเพศ จะถูกเกณฑ์เข้าสู่การศึกษา และตรวจ LPL variants ด้วยวิธี standard DNA sequencing method ผลการศึกษา : ในกลุ่มที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์สูงมาก (n=90) เป็นเพศชาย 67 เปอร์เซ็นต์ มีค่ามัธยฐานอายุ 48 ปี (IQR: 40-56 ปี) พบความหลากหลายทางพันธุกรรม 4 ชนิด ในกลุ่มไทรกลีเซอไรด์สูงมาก 10 ราย และไม่พบในกลุ่มควบคุมเลย (p=0.002) โดย Ala98Thr และ Leu279Val เป็นความหลากหลายทางพันธุกรรมที่เคยมีรายงานมาก่อนถึงความสัมพันธ์กับภาวะไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ขณะที่ Arg270Gly และ Arg432Thr ยังไม่เคยมีรายงานมาก่อน นอกจากนี้ยังพบ Ser474X ซึ่งเคยมีรายงานถึงความสัมพันธ์กับระดับไทรกลีเซอไรด์ที่ต่ำลง ในกลุ่มที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์สูงมาก 3 เปอร์เซ็นต์ และในกลุ่มควบคุม 16 เปอร์เซ็นต์ (p=0.004) สรุปผลการศึกษา : พบความหลากหลายทางพันธุกรรมของ LPL จำนวน 4 ชนิด รวมทั้ง Arg270Gly และ Arg432Thr ซึ่งไม่เคยมีรายงานมาก่อนในผู้ป่วยไทย ความหลากหลายทางพันธุกรรมเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้ไทรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้สูงมากได้ |
บรรณานุกรม | : |
อรุณรัตน์ เกียรติปรุงเวช . (2555). การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไลโปโปรตีนไลเปสในผู้ป่วยที่มีไขมันไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ปกติ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรุณรัตน์ เกียรติปรุงเวช . 2555. "การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไลโปโปรตีนไลเปสในผู้ป่วยที่มีไขมันไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ปกติ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรุณรัตน์ เกียรติปรุงเวช . "การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไลโปโปรตีนไลเปสในผู้ป่วยที่มีไขมันไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ปกติ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. อรุณรัตน์ เกียรติปรุงเวช . การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนไลโปโปรตีนไลเปสในผู้ป่วยที่มีไขมันไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับไทรกลีเซอไรด์ปกติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|