ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาวาทกรรมเรื่องทาสไทย |
นักวิจัย | : | ญาณินี ไพทยวัฒน์ |
คำค้น | : | ทาส -- ไทย , วจนะวิเคราะห์ , ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5 , Slaves -- Thailand , Discourse analysis , Thailand -- History |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พิพาดา ยังเจริญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36542 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 ศึกษาคำอธิบายเรื่องทาสไทยที่หลากหลาย ตั้งแต่การเลิกทาสไทย พ.ศ. 2448 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ผ่านงานเขียนประเภทต่างๆ รวมถึงการศึกษาบริบทการเมืองหลังการเลิกทาสเป็นต้นมาว่า มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวาทกรรมทาสไทย และกลุ่มของผู้สร้างวาทกรรมที่ให้คำอธิบายเรื่องทาสไทยทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ผลของงานวิจัยได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ ประเด็นแรก วาทกรรมเรื่องทาสไทยถูกสร้างขึ้นในปลายรัชกาลที่ 5 หลังการเลิกทาส พ.ศ. 2448 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน วาทกรรมทาสไทยกระแสหลักนำเสนอการเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสของรัชกาลที่ 5 ประเด็นที่สอง บริบทการเมืองในแต่ละช่วงเวลาส่งผลต่อการสร้างวาทกรรมทาสไทยดังนี้ บริบทการเมืองระหว่าง พ.ศ. 2448 จนถึงรัชกาลที่ 6 สร้างวาทกรรมทาสไทยประเด็นเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสในรัชกาลที่ 5 โดยอธิบายว่าเป็นการให้อภัยทานแก่ทาสไทย บริบทการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สร้างวาทกรรมทาสไทยประเด็นการเป็นทาสเป็นการขาดสิทธิและเสรีภาพ การเลิกทาสทำให้ทาสกลายเป็นพลเมืองในสังคมไทย บริบทการเมืองทศวรรษ 2520 จนถึงทศวรรษ 2530 สร้างวาทกรรมทาสไทยเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสในรัชกาลที่ 5 เป็นพระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยประเด็นที่สุดท้าย ประเด็นที่สาม กลุ่มผู้สร้างวาทกรรมทาสไทยมีดังนี้ กลุ่มชนชั้นนำ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มนักเขียนวรรณกรรม และกลุ่มนักเขียนสารคดีประวัติศาสตร์ กลุ่มต่างๆ สร้างวาทกรรมทาสไทยที่เหมือนกันในประเด็นเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสในรัชกาลที่ 5 ว่าเป็นพระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ในสังคมไทย กลุ่มนักวิชาการบางท่าน มีความเห็นแตกต่างและสร้างวาทกรรมว่า ทาสไทยไม่ได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายในสังคม การเป็นทาสเป็นทรัพย์สินและเป็นแรงงานที่สำคัญในสังคมไทย |
บรรณานุกรม | : |
ญาณินี ไพทยวัฒน์ . (2553). การศึกษาวาทกรรมเรื่องทาสไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ญาณินี ไพทยวัฒน์ . 2553. "การศึกษาวาทกรรมเรื่องทาสไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ญาณินี ไพทยวัฒน์ . "การศึกษาวาทกรรมเรื่องทาสไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. ญาณินี ไพทยวัฒน์ . การศึกษาวาทกรรมเรื่องทาสไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|