ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์ |
นักวิจัย | : | ดารรัตน์ ลี้เสริมสุขสิริ |
คำค้น | : | การบริหารองค์ความรู้ , การเรียนรู้แบบผสมผสาน , Knowledge management , Blended learning |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง , เนาวนิตย์ สงคราม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36274 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสาน, เพื่อสร้างรูปแบบ, ศึกษาผลการใช้ และนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์ ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1: ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสาน ระยะที่ 2: สร้างรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้ จากการปฏิบัติแบบผสมผสาน ระยะที่ 3: ทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสาน และระยะที่ 4 : นำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดพฤติกรรมการร่วมมือของกลุ่ม แบบวัดพฤติกรรมการสื่อสารของกลุ่ม แบบวัดพฤติกรรมพันธะสัญญาของกลุ่ม แบบประเมินผลงานนวัตกรรมการปฏิบัติงาน แบบบันทึกพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์บนเครือข่าย และแบบบันทึกการทบทวนหลังการปฏิบัติกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานธนาคารพาณิชย์ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 12 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามแผนกำกับกิจกรรมการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานรวม 35 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test dependent จากผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) กลุ่ม/สมาชิกพนักงานธนาคาร 2) ปัญหาในงานธนาคาร 3) วัฒนธรรมองค์กรธนาคาร 4) เทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ผู้เชี่ยวชาญ และ 6) ทีมการจัดการความรู้ 2. ขั้นตอนการเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์ มี 6 ขั้น คือ 1) ขั้นปฐมนิเทศและจัดตั้งกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ 2) ขั้นกำหนดปัญหาในงานแต่ละกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ3) ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานธนาคาร 4) ขั้นการสร้างองค์ความรู้ในงานธนาคาร 5) ขั้นการปฏิบัติจริงในงานธนาคาร และ 6) ขั้นการวัดและการประเมินผล 3. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่ม ทั้ง 3Cs ประกอบด้วยพฤติกรรมการร่วมมือของกลุ่ม พฤติกรรมการสื่อสารของกลุ่ม และพฤติกรรมพันธะสัญญาของกลุ่ม ผลคะแนนการประเมินตนเองด้านพฤติกรรม หลังการทำกิจกรรมการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสาน สูงกว่าก่อนทำกิจรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
ดารรัตน์ ลี้เสริมสุขสิริ . (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดารรัตน์ ลี้เสริมสุขสิริ . 2553. "การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดารรัตน์ ลี้เสริมสุขสิริ . "การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. ดารรัตน์ ลี้เสริมสุขสิริ . การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลวัตการเรียนรู้สำหรับพนักงานธนาคารพาณิชย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|