ชื่อเรื่อง | : | การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก |
นักวิจัย | : | พิมพ์รัตน์ นะวะศิริ |
คำค้น | : | ละครนอก -- ตัวละคร , การรำ -- ไทย , Lakhon nok -- Character , Dance -- Thailand |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สวภา เวชสุรักษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741422253 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36374 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก ในด้านประวัติความเป็นมา องค์ประกอบ กระบวนท่ารำและกลวิธีการรำ โดยเลือกศึกษาบทบาทการแสดงของพราหมณ์ที่แปลงตัวมาจากผู้หญิง 3 ชุด ได้แก่ บทรบในเรื่องสุวรรณหงส์ 1 ชุด บทชมความงามตามธรรมชาติและบทเกี้ยวพาราสีในเรื่องสุวรรณหงส์ 1 ชุด บทโศกเศร้าในเรื่องมณีพิชัย 1 ชุด และเรื่องลักษณวงศ์ 1 ชุดโดยใช้วีดำเนินการวิจัยจากวรรณกรรมการแสดง บทละครของกรมศิลปากร การสัมภาษณ์ และ ประสบการณ์การแสดงของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า พราหมณ์เป็นชนชั้นสูงและเป็นที่เคารพในสังคมฮินดู เนื่องจากเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาฮินดู ลัทธินี้ได้แพร่กระจายเข้ามาสู่ในสังคมไทยมาแต่โบราณ ชนชั้นปกครองของไทยได้รับวิทยาการหลายสาขามาจากลัทธิดังกล่าวรวมทั้ง วรรณกรรมที่กวีนิยมสอดแทรกแนวความเชื่อเกี่ยวกับบทบาทของพราหมณ์ไว้ในเนื้อ เรื่อง โดยให้ตัวเอกของเรื่องแปลงตัวเป็นพราหมณ์เพื่อทำกิจกรรมสำคัญให้สำเร็จดัง ความปรารถนา เพื่อช่วยคลี่คลายเหตุการณ์สำคัญให้มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น โดยกวีนำบทบาทสำคัญของพราหมณ์ในชีวิตจริงมาปรากฏในบทบาทของตัวเอก เพื่อเป็นการยกย่องสถานะของพราหมณ์ที่เป็นผู้นำทางพิธีและเป็นตัวแทนแห่ง ความสำเร็จในวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนั้น ความเชื่อเกี่ยวกับพราหมณ์ในวรรณกรรมของไทย ได้เชื่อมโยงมาสู่ละครรำตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เพราะมีหลักฐานจากวรรณกรรม 2 เรื่อง คือ สุวรรณหงส์ และ มณีพิชัย บทละครทั้งสองเรื่องได้รับการปรับปรุงในเวลาต่อมา มีศิลปินหลวงและเอกชนสืบทอดท่ารำมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์และนิยมแสดงสืบต่อ กันมาจนถึงปัจจุบัน ในเรื่ององค์ประกอบการแสดงมีลักษณะผสมผสาน 2 ส่วน คือ วัฒนธรรมไทยแบบหลวง และวัฒนธรรมฮินดู วัฒนธรรมไทยแบบหลวง ได้แก่ ลักษณะวงปี่พาทย์ ทำนองเพลง การแต่งกายแบบยืนเครื่องพระและจารีตการแสดง วัฒนธรรมฮินดู ได้แก่ ลักษณะการแต่งกาย คือ สีขาวของเสื้อผ้า และ อุณาโลมสีแดงบนกลางหน้าผาก ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้เป็นสัญลักษณ์ที่มาจากพราหมณ์ฮินดู พราหมณ์แปลง เป็นตัวเอกที่มีบทบาทเดิมเป็นเทพเจ้า กษัตริย์ และ นางกษัตริย์ ซึ่งพราหมณ์ที่แปลงกายมาจากตัวนางมักมีสถานะเป็นนางกษัตริย์มาก่อน ดังนั้นบุคลิกและลีลาท่ารำของพราหมณ์แปลงจึงแฝงจริกิริยาของสตรีชั้นสูงไว้ ในการแสดง พราหมณ์แปลง เป็นตัวละครที่มีสองบุคลิก กล่าวคือ บุคลิกภายนอกเป็นพราหมณ์ผู้ชายที่เสแสร้งแสดงกิริยาสง่างาม วาจาเรียบร้อยเป็นที่น่าเคารพแบบนักบวช มีท่าทีระมัดระวังตัว แต่บุคลิกภายในที่เป็นนางกษัตริย์จะเผยออกมาเมื่อลืมตัวจนไม่สามารถปกปิดกิริยาที่แท้จริงได้ ก็จะแสดงท่าทีกระตุ้งกระติ้ง เอียงอาย และควักค้อนตามนิสัยเดิม แบบแผนการรำพราหมณ์มีลกัษณะที่สำคัญ คือ การรำแบบสง่างามและนุ่มนวล โดยเคลื่อนไหวร่างกายไม่แรงนักและค่อนข้างรวดเร็วตามบทร้องและทำนองเพลงที่รกะชับ การรำทุกบทเป็นท่ารำตีบทพระที่มาจากแม่ท่าในโขนละคร และท่าที่มาจากกิริยาของมนุษย์ จุดเด่นของท่ารำบางท่า คือ รำแบบตัวนาง คือ รำแบบปิดเข่า ลักคอ กล่อมหน้า มีท่ารำแบบนางล้วนๆ และท่าที่ผสมลักษณะตัวนางเฉพาะส่วนล่างหรือส่วนบน ที่เรียกว่า "รำแบบผู้เมีย" บางช่วงจะแสดงจริตกิริยาของผู้หญิงออกมาอย่างเด่นชัดในบทต่างๆ ยกเว้นบทรบที่ต้องแสดงอารมณ์กล้าหาญแบบผู้ชายเพียงอย่างเดียว ลักษณะอารมณ์ที่แสดงถึงความเป็นสตรี คือ ท่าทีปัดป้อง สะบัดมือ เดินเลี่ยงออกไป ไม่สนใจฟัง การแสดงออกทางสีหน้า คือ การควักค้อน ใบหน้าเศร้าหมอง ชำเลืองมอง และหลบหน้า กิริยาท่ารำเหล่านี้สอดแทรกลงในท่ารำเพื่อให้เหมาะสมกับบทบาทของพราหมณ์แปลง ผลการวิจัยดังกล่าว นอกจากจะได้แบบแผนเฉพาะของตัวเอกในละครอีกรูปแบบหนึ่งแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อแวดวงนาฏยศิลป์ในด้านการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์งานนาฏศิปล์แบบหลวงในประเทศไทยด้วย |
บรรณานุกรม | : |
พิมพ์รัตน์ นะวะศิริ . (2548). การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์รัตน์ นะวะศิริ . 2548. "การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์รัตน์ นะวะศิริ . "การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. พิมพ์รัตน์ นะวะศิริ . การรำของตัวพราหมณ์ในการแสดงละครนอก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|