ชื่อเรื่อง | : | การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกัน |
นักวิจัย | : | สิริรัตน์ สารี |
คำค้น | : | เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย , การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ , ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า , หลักประกัน , ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ , Trademarks -- Law and legislation , Trademarks -- Law and legislation -- Thailand , License agreements , Trademark licenses -- Law and legislation , Security (Law) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรพรรณ พนัสพัฒนา , ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35889 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (Trademark Licensing Agreement) เป็นสัญญาที่ผู้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (Licensee) มีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าภายใต้เงื่อนไขที่ระบุอยู่ในสัญญานั้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 ที่สามารถประเมินราคาได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป โดยจัดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 ซึ่งมีรูปแบบการประเมินอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ 1. วิธีประเมินจากต้นทุน 2. วิธีประเมินจากราคาตลาด 3. วิธีประเมินจากรายได้ โดยวิธีการประเมินด้วยได้รายได้ จัดเป็นวิธีการประเมินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการประเมินสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน รวมไปถึงสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงแนวทางที่เหมาะสมในการนำสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้ รวมทั้งแนวทางการบังคับหลักประกันที่เหมาะสมกับลักษณะของสิทธิดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีการโอนสิทธิเรียกร้อง หรือการทำข้อตกลงในรูปแบบสัญญาทั่วไป ที่ผู้ให้หลักประกันตกลงที่จะมอบสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าแก่เจ้าหนี้ เมื่อตนไม่ปฏิบัติตามสัญญาประธาน ข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดเพียงบุคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญา ไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในการบังคับเอากับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแต่อย่างใด รวมทั้ง รูปแบบการประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์ที่ก่อให้เกิดบุริมสิทธิแก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบจำนองหรือจำนำ ก็ไม่สามารถที่จะนำมาใช้บังคับกับลักษณะของสิทธิในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลักษณะเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนได้ ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ามาเป็นหลักประกัน ควรใช้วิธีการภายใต้ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ... เนื่องจากผู้ให้หลักประกันไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับหลักประกัน ผู้ให้หลักประกันยังคงมีสิทธิใช้สอยหาประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้ในระหว่างสัญญาหลักประกันมีผลบังคับ และผู้รับหลักประกันยังอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกด้วย ดังนั้น แนวทางการพัฒนากฎหมายและการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเพื่อรองรับการนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ามาเป็นหลักประกัน มีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่จะนำมาเป็นหลักประกันได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อน 2. แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ... มาตรา 8(5) เพิ่มหลักเกณฑ์ให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่นำมาเป็นหลักประกันได้ 3. วิธีการบังคับหลักประกันควรใช้วิธีการจำหน่ายโดยการประมูลโดยเปิดเผยและควรเพิ่มวิธีการบังคับโดยการให้อนุญาตช่วงด้วยอีกวิธีหนึ่ง 4. ควรกำหนดมาตรการในการคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้รับหลักประกัน ไว้ในสัญญาหลักประกันทางธุรกิจด้วย |
บรรณานุกรม | : |
สิริรัตน์ สารี . (2555). การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิริรัตน์ สารี . 2555. "การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิริรัตน์ สารี . "การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. สิริรัตน์ สารี . การนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|