ชื่อเรื่อง | : | การนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยและการรับรู้ความเสี่ยงของผู้รับสาร |
นักวิจัย | : | เจนติมา เกษมวิชญ์ |
คำค้น | : | เว็บไซต์ , อินเตอร์เน็ต , ภาวะโลกร้อน , การบริหารความเสี่ยง , การสื่อสารความเสี่ยง , ปรากฏการณ์เรือนกระจก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดวงกมล ชาติประเสริฐ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14621 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาการนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยด้านรูปแบบ ประเด็นที่นำเสนอ และการสื่อสารความเสี่ยง ของเว็บไซต์ 15 เว็บไซต์ที่ได้จากการ search engine ใน www.google.co.th และวิเคราะห์ความแตกต่างของการรับรู้ความเสี่ยงด้านความรุนแรง โอกาสที่จะเกิดขึ้น และความเกี่ยวข้องกับตนเอง ของกลุ่มที่อ่านเว็บไซต์และกลุ่มที่ไม่ได้อ่านเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังศึกษาด้านการตัดสินใจและแนวโน้มในการปฏิบัติตนเพื่อลดภาวะโลกร้อนของทั้งสองกลุ่ม ซึ่งวิเคราะห์จากการวิจัยเชิงทดลองโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อ่านเว็บไซต์ที่กำหนดให้ (whyworldhot, panyathai, bangchak) จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้อ่านเว็บไซต์จำนวน 30 คน จากนั้นเลือกจากทั้งหมดมา 12 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าเว็บไซต์นั้นมีการนำเสนอเนื้อหาเรื่องภาวะโลกร้อนด้วยข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ในลักษณะของบทความเป็นส่วนใหญ่ และเน้นประเด็นผลกระทบโดยเฉพาะผลกระทบในต่างประเทศ มีการประเมินความเสี่ยงโดยส่วนใหญ่ระบุถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และมีการเสนอแนวทางในการปฏิบัติตนอย่างง่ายเพื่อลดภาวะโลกร้อนในระดับบุคคล และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพอใจในรูปแบบและประเด็นในการนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนของเว็บไซต์ในระดับสูง นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเสี่ยงด้านความรุนแรงได้ดีที่สุดโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และการรับรู้ความเสี่ยงของกลุ่มที่อ่านและไม่อ่านเว็บไซต์นั้นแตกต่างกันด้านโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงโดยเฉพาะประเด็นที่แตกต่างจากประเด็นที่สื่อกระแสหลักให้ความสนใจ ส่วนด้านความรุนแรงของเหตุการณ์และความเกี่ยวข้องกับตนเองนั้นกลุ่มตัวอย่างรับรู้ไม่แตกต่างกัน และยังพบว่ากระบวนการตัดสินใจของทั้งสองกลุ่มโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่อานเว็บไซต์มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตนเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้อ่านเว็บไซต์เนื่องจากทราบข้อดีข้อเสียของการปฏิบัติ |
บรรณานุกรม | : |
เจนติมา เกษมวิชญ์ . (2551). การนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยและการรับรู้ความเสี่ยงของผู้รับสาร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจนติมา เกษมวิชญ์ . 2551. "การนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยและการรับรู้ความเสี่ยงของผู้รับสาร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจนติมา เกษมวิชญ์ . "การนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยและการรับรู้ความเสี่ยงของผู้รับสาร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. เจนติมา เกษมวิชญ์ . การนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยและการรับรู้ความเสี่ยงของผู้รับสาร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|