ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ของการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง |
นักวิจัย | : | วชิรา โอภาสวัฒนา |
คำค้น | : | การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) , การศึกษาขั้นอุดมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เอมอร จังศิริพรปกรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14469 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายคะแนนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้คะแนน ONET คะแนน ANET และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรี 2) ปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและคะแนนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยวิธีทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และ 3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ซึ่งไม่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ที่ผ่านการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระบบกลาง ปีการศึกษา 2549 ในเขตกรุงเทพมหานครได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ จำนวน 2,220 คน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ องค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือก และผลการเรียนระดับปริญญาตรี ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. องค์ประกอบที่ใช้เลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนน ONET และ คะแนน ANET มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกสาขาวิชายกเว้น สาขาวิชาพาณิชย์ศาสตร์ที่คะแนน ANET มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสม พบว่า ทุกสาขาวิชามีคะแนนเฉลี่ยสะสมที่ปรับต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมเดิม 3. ผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายพบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์สามารถใช้องค์ประกอบคัดสรรที่ 6 ถึง 10 แทนองค์ประกอบที่ใช้อยู่ได้ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์สามารถใช้องค์ประกอบคัดสรรที่ 6, 8 และ 10 แทนได้ สาขาวิชาพาณิชยศาสตร์ทุกองค์ประกอบมีความตรงเชิงทำนายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
วชิรา โอภาสวัฒนา . (2549). การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ของการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วชิรา โอภาสวัฒนา . 2549. "การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ของการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วชิรา โอภาสวัฒนา . "การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ของการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. วชิรา โอภาสวัฒนา . การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ของการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|