ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจอง : ศึกษากรณีการจองบ้านหรือรถยนต์ |
นักวิจัย | : | นัฏนันทน์ วรวงศ์วรรณา |
คำค้น | : | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา , กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ซื้อขาย , กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- เช่าทรัพย์ , การจองบ้าน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังงคับ -- ไทย , การจองรถยนต์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14283 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 เนื่องจากในระบบกฎหมายไทยมิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจองไว้ จะมีก็แต่คำพิพากษาของศาลฎีกาไทยที่วินิจฉัยเกี่ยวกับการจองไว้หลายคดี โดยมีทั้งกรณีที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการจองเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย และกรณีที่ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยสถานะทางกฎหมายของการจองไว้อย่างชัดเจน สถานะทางกฎหมายของการจองทรัพย์สิน โดยเฉพาะกรณีการจองบ้านหรือการจองรถยนต์ซึ่งเป็นการจองที่เกิดขึ้นมากในทางปฏิบัติ จึงยังไม่มีความชัดเจนตามระบบกฎหมายไทยว่า เข้าลักษณะเป็นสัญญาหรือไม่ และหากเป็นสัญญา จะเข้าลักษณะเป็นสัญญาประเภทใด รวมถึงผลในทางกฎหมายควรเป็นอย่างไร จากการศึกษา จะเห็นได้ว่า การจองบ้านหรือรถยนต์เป็นสิ่งที่ผู้จองและผู้รับจอง มุ่งที่จะก่อให้เกิดความผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันขึ้นในเบื้องต้น ก่อนที่ผู้จองและผู้รับจองจะเข้าทำสัญญากันในภายหน้า ได้แก่ สัญญาเช่า สัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขาย แต่ลักษณะการจองบ้านและการจองรถยนต์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้จองและผู้รับจองในทางปฏิบัตินั้น มีความหลากหลายตามความจำเป็นและความต้องการของผู้จองและผู้รับจอง เพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายของตน โดยอาศัยหลักหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและหลักเสรีภาพในการเข้าทำสัญญา สถานะทางกฎหมายและผลทางกฎหมายของการจองบ้านหรือรถยนต์จึงแตกต่างกันไป มีทั้งกรณีที่ก่อให้เกิดสัญญาขึ้นมาแล้วในลักษณะเป็นสัญญาเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะทำ “สัญญาเสร็จเด็ดขาด” หรือสัญญาจะทำ “สัญญาจะทำสัญญา” ซึ่งมักจะมีการให้มัดจำหรือกำหนดเบี้ยปรับด้วย และกรณีที่ยังไม่ก่อให้เกิดความผูกพัน เช่นสัญญาในลักษณะเป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้น ซึ่งอาจมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ก็ได้ การจองบ้านหรือการจองรถยนต์ระหว่างผู้จองและผู้รับจองที่เกิดขึ้นแต่ละกรณี จะมีสถานะทางกฎหมายเป็นอย่างไร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขอเสนอว่าต้องพิจารณาโดยอาศัยหลักการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 แห่ง ป.พ.พ. ของไทย และหลักการตีความสัญญาตามมาตรา 368 แห่ง ป.พ.พ. ของไทย และผลทางกฎหมายของการจองดังกล่าว อาจทำให้ผู้บริโภคในฐานะผู้จองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจองบ้านหรือรถยนต์กับผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้รับจอง ซึ่งมีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551 แล้วจึงขอเสนอว่าสมควรที่จะควบคุมสัญญาจองบ้าน โดยการยกร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการขายบ้านที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ... ต่อไป นอกจากนี้ขอเสนอแนวทางปฏิบัติสำหรับการจองบ้านหรือรถยนต์ในประเทศไทยบางประการ ที่น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้จองและผู้รับจองยิ่งขึ้นด้วย |
บรรณานุกรม | : |
นัฏนันทน์ วรวงศ์วรรณา . (2551). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจอง : ศึกษากรณีการจองบ้านหรือรถยนต์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นัฏนันทน์ วรวงศ์วรรณา . 2551. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจอง : ศึกษากรณีการจองบ้านหรือรถยนต์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นัฏนันทน์ วรวงศ์วรรณา . "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจอง : ศึกษากรณีการจองบ้านหรือรถยนต์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. นัฏนันทน์ วรวงศ์วรรณา . ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจอง : ศึกษากรณีการจองบ้านหรือรถยนต์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|