ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของการใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ในรถยนต์ |
นักวิจัย | : | กุลรัศมิ์ พิพัฒจิรโชติ |
คำค้น | : | ต้นทุนและประสิทธิผล , ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว , ก๊าซธรรมชาติอัด , เชื้อเพลิงขับเคลื่อนเครื่องยนต์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จิตตภัทร เครือวรรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13988 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ทางเอกชน (Private cost-benefit analysis) โดยวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันผลตอบแทนสุทธิ (NPV) และ จุดคุ้มทุน (Break even analysis) แบ่งออกเป็น กรณีราคาเชื้อเพลิง ณ ปัจจุบัน และกรณีราคาเชื้อเพลิงเป็นราคาตลาดโลก และวิเคราะห์ผลได้ภายนอก (External benefit) ของการใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG แทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ โดยรถยนต์ที่ทำการศึกษา ได้แก่ รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน และรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ทางเอกชน กรณีราคาเชื้อเพลิง ณ ปัจจุบัน พบว่า รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล เมื่อเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ค่าปัจจุบันผลตอบแทนสุทธิจะแปรผันตามอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและระยะทางการใช้รถยนต์ และการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ CNG จะคุ้มค่ามากกว่าเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG กรณีราคาเชื้อเพลิงเป็นราคาตลาดโลกพบว่า ค่าปัจจุบันผลตอบแทนสุทธิจะลดลงจากกรณีราคาเชื้อเพลิงคงที่ประมาณ 43%-73% ทำให้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเมื่อเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG มีค่าปัจจุบันผลตอบแทนสุทธิเป็นลบ คือไม่มีความเหมาะสมในการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ส่วนรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินยังคงเหมาะสมในการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เป็นการวิเคราะห์ว่าราคาขายปลีกก๊าซ LPG และก๊าซ CNG สามารถเพิ่มสูงขึ้นได้ถึงระดับใดที่ทำให้การใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ยังคงมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ โดยพบว่า ก๊าซ CNG สามารถมีระดับราคาขายปลีกที่เพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่าราคาขายปลีกก๊าซ LPG การวิเคราะห์ผลได้ภายนอก โดยการประเมินมูลค่ามลพิษในอากาศที่เปลี่ยนแปลงของรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่เปลี่ยนมาใช้ ก๊าซ CNG แทนน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า ฝุ่นละออง (Particulate matter) และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน มีปริมาณลดลง ทำให้มีต้นทุนความเสียหายที่เกิดจากมลพิษรวมลดลง ส่วนเครื่องยนต์เบนซินที่เปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG แทนน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ มีปริมาณลดลง แต่ต้นทุนความเสียหายที่เกิดจากมลพิษรวมมีทั้งลดลงและเพิ่มขึ้น เนื่องจากมลพิษบางชนิดมีปริมาณเพิ่มขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
กุลรัศมิ์ พิพัฒจิรโชติ . (2550). การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของการใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ในรถยนต์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กุลรัศมิ์ พิพัฒจิรโชติ . 2550. "การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของการใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ในรถยนต์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กุลรัศมิ์ พิพัฒจิรโชติ . "การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของการใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ในรถยนต์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. กุลรัศมิ์ พิพัฒจิรโชติ . การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของการใช้ก๊าซ LPG และก๊าซ CNG ในรถยนต์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|