ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก - ตะวันออก กรณีโลจิสติกส์ด้านการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน |
นักวิจัย | : | ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม |
คำค้น | : | ลาว , เวียดนาม |
หน่วยงาน | : | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=PDG5050003 , http://research.trf.or.th/node/3285 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | นโยบายการพัฒนาของธนาคารพัฒนาเอเชียที่มีต่อประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าและการ ขนส่ง การร่วมมือกันพัฒนากฎระเบียบให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อขจัดปัญหาด้านต่างๆ ระหว่างกัน ขณะเดียวกันทุก ประเทศได้เร่งพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ภายในประเทศของตนเอง และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อ ก่อให้เกิดการหลอมรวมกันของภูมิภาคในการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ประชาชนระดับรากหญ้าประมาณร้อยละ 60 ไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น กลุ่มธุรกิจขนาดกลางร้อย ละ 30 โดยครึ่งหนึ่งไม่ทราบข้อมูลและรอดูโอกาส ส่วนอีกครึ่งหนึ่งและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาด ใหญ่ รับรู้ข่าวสารและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นสิ่งท้าทายสำหรับประเทศที่จะต้องเตรียมรับ ปรับตัว และรุกไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาของ ประเทศ ทั้งนี้ปรากฏการณ์ต่างที่เกิดขึ้นคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดผลกระทบขึ้นต่อทั้งทางด้านเศรษฐกิจและ สังคม โดยจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในครั้งนี้ พบว่า 1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่เข้าใจภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องมาจาก ผลการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ตลอดจนความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 2. ผู้ประกอบการขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารในพื้นที่และ ภูมิภาคเกี่ยวกับการพัฒนา สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจที่จะลงทุนสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในประเทศเพื่อ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านและเวทีการค้าโลก 3. หน่วยงานต่างๆ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญ ที่จะรองรับต่อการ พัฒนาด้านต่างๆ ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในภูมิภาคในอนาคต 4. ขาดเจ้าภาพและความร่วมมือของหน่วยงานแต่ละภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้เกิด การแข่งขันกันเองภายในประเทศไทย 5. ด้านโครงสร้างพื้นฐานยังไม่สมบูรณ์ ได้แก่ กฎกติกาความร่วมมือระหว่างประเทศ และความ ร่วมมือว่าด้วยการขนส่งผ่านแดนและข้ามแดนยังไม่สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง รวมทั้งเส้นทาง การขนส่งบางช่วงของไทยเป็นอุปสรรคไม่เอื้ออำนวยต่อการขนส่ง (เส้นทางผ่านเขาค้อ และอำเภอแม่สอด เป็น เขาสูงชัน) ซึ่งผลจากการศึกษาที่ได้รับครั้งนี้พบว่าประเทศไทยจำเป็นต้องทำการศึกษาถึงศักยภาพเส้นทาง การค้าและผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจในแนวเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้คนไทยได้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้ทัน เพื่อเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถในการพัฒนา ประเทศ |
บรรณานุกรม | : |
ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม . (2551). การศึกษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก - ตะวันออก กรณีโลจิสติกส์ด้านการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม . 2551. "การศึกษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก - ตะวันออก กรณีโลจิสติกส์ด้านการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน".
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม . "การศึกษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก - ตะวันออก กรณีโลจิสติกส์ด้านการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน."
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2551. Print. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม . การศึกษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก - ตะวันออก กรณีโลจิสติกส์ด้านการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2551.
|