ชื่อเรื่อง | : | การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจ ที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง |
นักวิจัย | : | สิตางศุ์ สุนทรโรหิต |
คำค้น | : | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ , การรับรู้ , การสื่อสารในองค์การ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พนม คลี่ฉายา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13844 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของบุคลากรขององค์กรธุรกิจที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง ที่มีต่อกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมที่องค์กรจัดขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ บุคลากรขององค์กรธุรกิจที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง 4 แห่ง ได้แก่ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัทละ 100 คน รวมเป็นจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยความสะดวก ให้กระจายไปยังหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน และนำข้อมูลไปประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากร และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสถิติแบบ t-test และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรขององค์กรธุรกิจทั้ง 4 แห่ง มีการรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาสังคมที่องค์กรจัดขึ้นเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อจากสื่อมวลชนในระดับเป็นประจำ และมีทัศนคติต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมอยู่ในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม พบว่าการมีส่วนร่วมของบุคลากรในกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมที่องค์กรจัดขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐานปรากฏดังนี้ 1. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายงานที่ต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาสังคมที่องค์กรจัดขึ้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 2. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายงานที่ต่างกัน มีทัศนคติต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การมีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งองค์กรธุรกิจทั้ง 4 แห่ง ในกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมที่องค์กรจัดขึ้น ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของบุคลากรที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
บรรณานุกรม | : |
สิตางศุ์ สุนทรโรหิต . (2550). การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจ ที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิตางศุ์ สุนทรโรหิต . 2550. "การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจ ที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิตางศุ์ สุนทรโรหิต . "การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจ ที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. สิตางศุ์ สุนทรโรหิต . การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจ ที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|