ชื่อเรื่อง | : | อิทธิพลของตัวแปรการทำงานต่อพฤติกรรมของเครื่องยนต์ดีเซลระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง |
นักวิจัย | : | เยาวลักษณ์ ถมปัทม์ |
คำค้น | : | เครื่องยนต์ดีเซล , เครื่องยนต์สันดาปภายใน , ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว , ก๊าซเชื้อเพลิง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | คณิต วัฒนวิเชียร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13823 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 ศึกษาแนวทางการดัดแปลงและศึกษาค่าพารามิเตอร์การทำงานที่เหมาะสม สำหรับเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดขนาดเล็กชนิดห้องเผาไหม้ช่วย (IDI) ระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาดัดแปลงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้งานได้ดี โดยที่สมรรถนะการทำงานปกติไม่เสียไป ได้ดัดแปลงเครื่องยนต์อย่างง่ายด้วยการออกแบบมิกเซอร์และติดตั้งไว้ที่ปลายของท่อร่วมไอดี เพื่อทำหน้าที่ผสมก๊าซหุงต้มและอากาศให้เป็นสารผสมเนื้อเดียว และทดสอบเครื่องยนต์ที่สภาวะภาระสูงสุด และสภาวะภาระบางส่วน ตามมาตรฐานการทดสอบ European Stationary Test Cycle กล่าวคือ ทดสอบที่ ความเร็วรอบคงที่ 1400, 1700 และ 2100 รอบต่อนาที ที่ภาระ 25%, 50%, 75% และที่ 100% ของภาระสูงสุด เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณก๊าซหุงต้มและจังหวะการฉีดน้ำมันดีเซลที่แต่ละจุดทดสอบ ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณก๊าซหุงต้มช่วยให้สามารถลดปริมาณการจ่ายน้ำมันดีเซลลงได้มากที่ภาระต่ำ แต่พบว่าค่าประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานรวมจำเพาะเบรกต่ำ ขณะที่ที่ภาระสูงแม้ว่าจะไม่สามารถใช้ปริมาณก๊าซหุงต้มได้มากตามต้องการเนื่องจากเกิดการ knock แต่พบว่าค่าประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานรวมจำเพาะเบรกใกล้เคียงหรือสูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซลปกติเล็กน้อย นอกจากนี้พบว่า แต่ละจุดการทำงานของเครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงต้องการจังหวะการฉีดน้ำมันดีเซลที่เหมาะสมแตกต่างกัน ผลจากการศึกษานี้ได้สรุปนำเสนอในรูปแผนภูมิแสดงค่าพารามิเตอร์การทำงานที่เหมาะสม เพื่อง่ายสำหรับการนำไปใช้งานต่อไป แม้ว่าในเชิงค่าประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานรวมจำเพาะเบรก โดยเฉพาะที่ภาระต่ำเครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงจะมีค่าต่ำกว่าเครื่องยนต์ดีเซลปกติ แม้จะได้ปรับเปลี่ยนปริมาณก๊าซหุงต้มและจังหวะการฉีดน้ำมันดีเซลแล้วก็ตาม แต่ในทางค่าใช้จ่ายระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงยังคงมีความน่าสนใจ เพราะสามารถช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงรวมจำเพาะได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ในที่สุด |
บรรณานุกรม | : |
เยาวลักษณ์ ถมปัทม์ . (2549). อิทธิพลของตัวแปรการทำงานต่อพฤติกรรมของเครื่องยนต์ดีเซลระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เยาวลักษณ์ ถมปัทม์ . 2549. "อิทธิพลของตัวแปรการทำงานต่อพฤติกรรมของเครื่องยนต์ดีเซลระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เยาวลักษณ์ ถมปัทม์ . "อิทธิพลของตัวแปรการทำงานต่อพฤติกรรมของเครื่องยนต์ดีเซลระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. เยาวลักษณ์ ถมปัทม์ . อิทธิพลของตัวแปรการทำงานต่อพฤติกรรมของเครื่องยนต์ดีเซลระบบเชื้อเพลิงคู่ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|