ชื่อเรื่อง | : | การสึกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ผลิตในประเทศภายหลังทดสอบการแปรง |
นักวิจัย | : | วิไลพรรณ เดชาภิมุขกุล |
คำค้น | : | ทันตวัสดุ , ทันตกรรมเด็ก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุภาภรณ์ จงวิศาล , สุชิต พูลทอง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13925 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางภายภาพในเรื่องการสึกจากการแปรงของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่พัฒนาขึ้นในประเทศ กับวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยศึกษาปริมาตรและความลึกที่ลดลงไปภายหลังการแปรง ชิ้นตัวอย่างประกอบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่อยู่ในแบบพิมพ์โลหะ จำนวน 120 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยการสุ่ม ได้แก่ Prevocare opaque, Prevocare clear (Chulalongkorn University, Thailand) Concise white sealant (3M ESPE, USA) และ Delton clear (Dentsply, USA) ก่อนการทดสอบเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 นำชิ้นตัวอย่างแปรงด้วยเครื่องแปรงฟันอัตโนมัติ (V-8 Cross Brushing Machine, SABRI Dental Enterprises, Inc., USA) โดยใช้ชิ้นตัวอย่างจำนวน 8 ชิ้นต่อการแปรง 1 ครั้ง จำนวนรอบในการแปรง 20,000 รอบความเร็วแปรง 90 รอบต่อนาที แรงกด 200 กรัม ร่วมกับสารสำหรับขัดอ้างอิง (Reference abrasive slurry) ซึ่งเตรียมตามเกณฑ์มาตรฐาน ISO 11609: 1995 วัดความแตกต่างของปริมาตรและความลึกของแต่ละชิ้นตัวอย่างภายหลังการแปรง โดยใช้เครื่องวัดความหยาบพื้นผิว (TalyScan 150, Taylor Hobson Ltd., England) อ่านค่าพื้นผิวขนาดพื้นที่ 3x1 มิลลิเมตร นำค่าเฉลี่ยนของปริมาตรและความลึกที่ลดลงแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบด้วยสถิติ ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่าทั้งค่าเฉลี่ยของปริมาตรและความลึกที่ลดลง หลังจากการแปรงของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันทั้ง 4 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษานี้สรุปว่าวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่พัฒนาขึ้นโดยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคุณสมบัติทางกายภายในเรื่องการสึกจากการแปรง ใกล้เคียงกับวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่นำเข้าจากต่างประเทศ |
บรรณานุกรม | : |
วิไลพรรณ เดชาภิมุขกุล . (2549). การสึกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ผลิตในประเทศภายหลังทดสอบการแปรง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิไลพรรณ เดชาภิมุขกุล . 2549. "การสึกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ผลิตในประเทศภายหลังทดสอบการแปรง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิไลพรรณ เดชาภิมุขกุล . "การสึกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ผลิตในประเทศภายหลังทดสอบการแปรง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. วิไลพรรณ เดชาภิมุขกุล . การสึกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ผลิตในประเทศภายหลังทดสอบการแปรง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|