ชื่อเรื่อง | : | ลักษณะทางพื้นที่ของปริมาณน้ำของแม่น้ำในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ฉัตรชัย จันทร์แย้ม |
คำค้น | : | แม่น้ำ -- ไทย , น้ำท่า -- ไทย , ลุ่มน้ำ -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13646 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 ศึกษาลักษณะทางพื้นที่ของปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำชี มูล ปิง วัง ยม น่าน แม่กลอง จันทบุรี และตาปี โดยเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณน้ำของลุ่มน้ำเหล่านี้ ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การเปรียบเทียบปริมาณน้ำต่อพื้นที่ ปริมาณน้ำที่ต้นน้ำและปลายน้ำ ปริมาณน้ำที่สัดส่วนเวลาตางๆในรอบปี การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในรอบปี ปริมาณน้ำในภาวะน้ำหลาก และภาวะน้ำแล้ง การวิเคราะห์การถดถอยระหว่างปริมาณน้ำกับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง การวิจัยพบว่า ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อลักษณะปริมาณน้ำ แม่น้ำในภาคตะวันออกเฉียวเหนือซึ่งได้แก่ ชี มูล มีความคล้ายคลึงกันอย่างชัดเจนในทุกเรื่องที่วิเคราะห์ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ ได้ผลการวิเคราะห์ที่มีความคล้ายคลึงเป็นกลุ่มเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้าง อาจเนื่องจากอิทธิพลของเขื่อนที่ควบคุมปริมาณน้ำ ถ้าเปรียบเทียบปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ กลุ่มที่มีปริมาณน้ำต่อพื้นที่สูง ได้แก่ จันทบุรี ตาปี น่านและแม่กลอง กลุ่มที่มีปริมาณน้ำต่อพื้นที่ต่ำกว่าได้แก่ ชี ปิง มูล ยมและวัง แม่น้ำชีและมูลมีปริมาณน้ำต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นจากต้นน้ำไปทางด้านปลายน้ำ ส่วนแม่น้ำวังและ จันทบุรี มีปริมาณน้ำต่อพื้นที่ลดลงไปทางด้านปลายน้ำ และแม่น้ำสายอื่นๆ มีปริมาณน้ำที่ต้นน้ำกับปลายน้ำไม่ต่างกันมาก ในการเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่สัดส่วนเวลาต่างๆ ในรอบปี แม่น้ำชี มูลและยม มีความแตกต่างด้านปริมาณน้ำในช่วงน้ำน้อยและช่วงน้ำมากสูงกว่าแม่น้ำสายอื่นๆ แม่น้ำจันทบุรีมีจังหวะของช่วงการขึ้นและลงของน้ำก่อนลุ่มน้ำอื่นๆ ส่วนแม่น้ำชี มูล และตาปี มีช่วงการขึ้นและลงของน้ำช้ากว่าลุ่มน้ำอื่นๆ ปริมาณน้ำหลากที่คาบการเกิดซ้ำ 2 ปี และ 10 ปี ของแม่น้ำจันทบุรีและตาปี มีอัตราส่วนต่อค่าน้ำท่วมฐาน ระหว่าง 1.5 และ 5 เท่า แต่แม่น้ำ ชี มูล ยม มีอัตราส่วนสูง 3 และ 10 เท่าของน้ำท่วมฐาน ภาวะน้ำแล้งในแม่น้ำแม่กลองและวังมีระยะเวลานานที่สุด ส่วนแม่น้ำจันทบุรีและแม่น้ำตาปีสั้นที่สุด ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำกับพื้นที่ลุ่มน้ำ ปริมาณฝน และความลาดชันของท้องน้ำ ได้วิเคราะห์สมการถดถอยทีละลุ่มน้ำ สมการเกือบทั้งหมดไม่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก จำนวนสถานีของแต่ละลุ่มน้ำน้อยเกินไป หรือตำแหน่งสถานีไม่กระจายเท่าที่ควร สมการการถดถอยเชิงภูมิภาคของลุ่มน้ำชีมูลมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจสูงถึง 0.98 และสมการการถดถอยเชิงภูมิภาคของกลุ่มลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน มีค่าสัมประสิทธิการตัดสินใจ 0.74 แม้ว่าไม่อาจจะสรุปเกี่ยวกับลุ่มน้ำในภาคอื่นๆ ได้ เนื่องจากมีข้อมูลจำกัด แต่คาดว่าแต่ละภาคน่าจะมีสมการการถดถอยที่แตกต่างกัน |
บรรณานุกรม | : |
ฉัตรชัย จันทร์แย้ม . (2549). ลักษณะทางพื้นที่ของปริมาณน้ำของแม่น้ำในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัตรชัย จันทร์แย้ม . 2549. "ลักษณะทางพื้นที่ของปริมาณน้ำของแม่น้ำในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัตรชัย จันทร์แย้ม . "ลักษณะทางพื้นที่ของปริมาณน้ำของแม่น้ำในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. ฉัตรชัย จันทร์แย้ม . ลักษณะทางพื้นที่ของปริมาณน้ำของแม่น้ำในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|