ชื่อเรื่อง | : | แนวทางพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ ภายในย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | สกุลชัย ตันติเศรณี |
คำค้น | : | พื้นที่โล่ง -- ไทย -- กรุงเทพฯ , การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ , ถนนข้าวสาร (กรุงเทพฯ) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ , จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13277 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 ศึกษาลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ของพื้นที่ย่านถนนข้าวสารในส่วนของพื้นที่โล่งว่างที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ โดยทำการประมวลลักษณะทางกายภาพในเชิงสัณฐานของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ต่างๆ และการศึกษาภาคสนามในรายละเอียดของรูปแบบกิจกรรม/การใช้พื้นที่ของคนเดินเท้า เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพ และปัญหาของพื้นที่ และสรุปเป็นแนวทางพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ภายในย่านฯ ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ถึงแม้ว่าพื้นที่โล่งว่างภายในย่านฯ จะมีความซับซ้อนและเป็นระบบที่เข้าใจยาก และมีการใช้งานแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่ตั้งพื้นที่ฯ ภายในย่านฯ แต่ก็สามารถถูกจัดหมวดหมู่ตามลักษณะเชิงสัณฐานทางกายภาพต่างๆ ทั้งลักษณะสัญจรเข้าถึง / ลักษณะการปิดล้อมของอาคาร / ลักษณะการเปลี่ยนระดับพื้นที่ภายใน ตลอดจนลักษณะสามมิติของพื้นที่ โดยลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างหลากหลายของแต่ละพื้นที่เหล่านี้ พบว่าส่งผลโดยตรงต่อปรูปแบบการใช้พื้นที่ของคนเดินเท้าในพื้นที่โล่งว่างต่างๆ เหล่านั้นจากการศึกษาภาคสนาม ทั้งอัตราการสัญจรเพื่อผ่านและเข้าถึง การเลือกเส้นทางนิยมสัญจร และการจับจองพื้นที่เพื่อทำกิจกรรม นอกจากนี้ ลักษณะหลากหลายทางกายภาพนั้น ยังส่งผลถึงประเภท เวลา และกิจกรรมของผู้เข้าใช้พื้นที่ซึ่งเป็นคนเดินเท้าด้วย ทำให้พื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ในบางบริเวณเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตชีวากล่าวคือ มีผู้เข้าใช้อย่างหลากหลายประเภท หลากหลายเวลา และมีวัตถุประสงค์ของการใช้อย่างหลายหลายในขณะที่บางพื้นที่เป็นบริเวณที่ "เงียบ" กว่า กล่าวคือมีผู้เข้าใช้เพียงประเภทเดียว เฉพาะบางช่วงเวลา และทำกิจกรรมประเภทเดียวเท่านั้น จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าว ทำให้สามารถสรุปตรรกะทางกายภาพบางประการของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ที่มีชีวิตชีวา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่อื่นๆ ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จให้ดีขึ้นได้ เพื่อยังประโยชน์สูงสุดในแง่ของการพาณิชยกรรม ในขณะที่มีความสมดุลกับการใช้พื้นที่ของชุมชนเก่าโดยรอบ โดยนำเสนอในรูปของแบบการพัฒนาปรับปรุงทางกายภาพของย่านถนนข้าวสารในภาพรวม และพื้นที่โล่งว่าง 8 พื้นที่ที่เลือกมาเป็นกรณีตัวอย่างในระดับย่อย สุดท้าย การศึกษาได้เสนอแนวทางการนำไปปฏิบัติลำดับการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนข้อเสนอแนะไปในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาทางกายภาพที่สามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นที่ใกล้เคียงต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
สกุลชัย ตันติเศรณี . (2549). แนวทางพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ ภายในย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สกุลชัย ตันติเศรณี . 2549. "แนวทางพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ ภายในย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สกุลชัย ตันติเศรณี . "แนวทางพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ ภายในย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. สกุลชัย ตันติเศรณี . แนวทางพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ ภายในย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|