ชื่อเรื่อง | : | "สุภาพบุรุษ" ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา |
นักวิจัย | : | สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ |
คำค้น | : | มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468 , ศรีบูรพา , บุรุษในวรรณคดี , วรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ตรีศิลป์ บุญขจร , ชุติมา ประกาศวุฒิสาร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13048 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 ศึกษาการประกอบสร้างความเป็นชายแบบ "สุภาพบุรุษ" จากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงยุค "สุภาพบุรุษ" ของศรีบูรพาและศึกษาความเป็นชายแบบ "สุภาพบุรุษ" ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา ผลจากการศึกษาพบว่า "สุภาพบุรุษ" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการแสดงลักษณะความเป็นชายของชนชั้นสูงสอดรับกับค่านิยมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่ว่า "สุภาพบุรุษ" คือ ผู้มีชาติกำเนิดดี อีกทั้ง "สุภาพบุรุษ" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมุ่งแสดงภาพผู้เสียสละ ตลอดจนมีความสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ การมีความกล้าหาญ การปฏิบัติตนต่อผู้หญิง การรู้จักควบคุมอารมณ์ การเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น นอกจากนี้ "สุภาพบุรุษ" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังผูกโยงกับความเป็นชาติ ที่หมายถึงประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วน "สุภาพบุรุษ" ของศรีบูรพาหมายถึงการแสดงออกถึงความเป็นชายที่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องอยู่ในชนชั้นสูง สามัญชนก็สามารถเป็น "สุภาพบุรุษ" ได้ ถ้าเป็นผู้มีความประพฤติดีหรือเป็นคนดี สอดรับกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕ ที่สามัญชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกัน "สุภาพบุรุษ" ของศรีบูรพายังแสดงภาพของผู้ชายที่เสียสละ มีความกล้าหาญ มีการปฏิบัติตนต่อผู้หญิง มีความยุติธรรม ตลอดจนเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น ซึ่งคำว่าผู้อื่นของศรีบูรพาหมายถึงประชาชน สอดรับกับอุดมการณ์ที่ศรีบูรพาต้องการให้ "สุภาพบุรุษ" ประพฤติตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือประชาชนมากกว่าตนเอง ทั้งนี้แนวความคิดเรื่อง "สุภาพบุรุษ" ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา ได้ชี้ให้เห็นว่าการประกอบสร้างความเป็น "สุภาพบุรุษ" ในแต่ละยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้ง "สุภาพบุรุษ" ยังเปลี่ยนแปลงไปตามอุดมการณ์ที่ประกอบสร้างมาจากแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทัศนะของศรีบูรพา |
บรรณานุกรม | : |
สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ . (2551). "สุภาพบุรุษ" ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ . 2551. ""สุภาพบุรุษ" ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ . ""สุภาพบุรุษ" ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ . "สุภาพบุรุษ" ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|