ชื่อเรื่อง | : | การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน |
นักวิจัย | : | จิรศักดิ์ อุดหนุน |
คำค้น | : | การเรียนการสอนผ่านเว็บ , การทำงานกลุ่มในการศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12988 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตและอาจารย์ สาขาวิชาดนตรีที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บ 2)ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระดับอุดมศึกษาต่างสถาบันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการประพันธ์เพลง และ 3)นำเสนอรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บวิชาการประพันธ์เพลง สำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามได้แก่ นิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 60 คน และนิสิตปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีตะวันตก คณะมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 80 คน และอาจารย์สาขาดนตรี รวมจำนวน 11 คน กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบได้แก่นิสิต 2 สถาบันที่ศึกษาอยู่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2550 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบประเมินผลงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตและอาจารย์ มีความเห็นว่า การปฐมนิเทศ ควรจัดในห้องเรียน เครื่องมือบนเครือข่าย เพื่อการสนทนา คือ กระดานสนทนา และเว็บ-เบท วิดีโอ คอนเฟอเรนซิ่ง (WBV) กระดานสนทนาประจำวิชา เหมาะสำหรับการระดมสมองกลุ่มย่อย วิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดในการสร้างผลงาน คือ กิจกรรมในชั้นเรียน และใช้โปรแกรมพิมพ์โน้ต ที่เหมาะสมกับการใช้บนเครือข่าย การนำเสนอผลงานเป็นแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะนิสิตในชั้นเรียน และด้วยการสนทนา และประเมินงานกลุ่มพร้อมกันในชั้น 2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลง สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน มีคะแนนผลงานการประพันธ์เพลงในระดับดี 3. รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน มี 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นเตรียม ได้แก่ การปฐมนิเทศ และทดสอบก่อนเรียน 2) ขั้นสอน ได้แก่ การนำเสนอเนื้อหาในชั้นเรียน 3) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม 4) ขั้นตรวจสอบผลงาน และ 5) ขั้นสรุปบทเรียน และประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่มในชั้นเรียน |
บรรณานุกรม | : |
จิรศักดิ์ อุดหนุน . (2550). การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรศักดิ์ อุดหนุน . 2550. "การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรศักดิ์ อุดหนุน . "การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. จิรศักดิ์ อุดหนุน . การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|