ชื่อเรื่อง | : | การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ ในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม |
นักวิจัย | : | หนึ่งฤทัย ชัยยา |
คำค้น | : | การประเมินความต้องการจำเป็น , การศึกษาพิเศษ , การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ , เด็กพิเศษ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรรณี แกมเกตุ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12668 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของเด็กพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมของครูในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของเด็กพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมของครูในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ในด้านเพศ อายุ ประสบการณ์การสอนร่วม ตำแหน่งงาน และประเภทครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินความต้องการจำเป็น จากกลุ่มตัวอย่างครูในโรงเรียนแกนนำในการจัดการเรียนร่วมในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง และใช้สูตร PNImodified สำหรับกำหนดความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินและการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น เพื่อใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษโดยใช้การวิเคราะห์ดัชนีการจัดเรียงลำดับ PNImodified พบว่าประเด็นที่มีค่า PNImodified สูงสุดคือ การประสานงานกันระหว่างครูและนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งถือเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วน 2. ผลการเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นของครู ในการจัดการเรียนร่วมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ จำแนกตามตัวแปรระดับการศึกษา พบว่า ครูที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความต้องการจำเป็นของครูจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์การเรียนร่วม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการเปรียบเทียบความต้องการจำเป็น โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง พบว่า ตัวแปรเพศ อายุ และประเภทครู ร่วมกันส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในภาพรวมของครู |
บรรณานุกรม | : |
หนึ่งฤทัย ชัยยา . (2549). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ ในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หนึ่งฤทัย ชัยยา . 2549. "การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ ในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หนึ่งฤทัย ชัยยา . "การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ ในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. หนึ่งฤทัย ชัยยา . การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ ในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|