ชื่อเรื่อง | : | การออกแบบเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารประเภทของผลิตภัณฑ์นมโค |
นักวิจัย | : | ภัทรพร อัฉริยะศิลป์ |
คำค้น | : | บรรจุภัณฑ์ -- การออกแบบ , การออกแบบกราฟิก , การบรรจุหีบห่อ -- การออกแบบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12697 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 การศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารประเภทของผลิตภัณฑ์นมโคนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารประเภทของนมโคชนิดต่างๆโดยใช้เรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์เป็นสื่อ ซึ่งได้แก่ สี แบบตัวอักษร และรูปภาพ ทั้งนี้ทำการวิจัยโดยใช้วรรณกรรมที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์มาเป็นเครื่องมือในการสร้างแบบสอบถาม และได้มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของสินค้ากว่า 30 ยี่ห้อทั่วโลก เพื่อวิเคราะห์ถึงวิธีการใช้องค์ประกอบเพื่อสื่อสารถึงชนิดของผลิตภัณฑ์นมโค และนำการวิเคราะห์นั้นมาสร้างแบบสอบถามและให้ผู้เชี่ยวชาญ 30 คนเป็นผู้ตอบ และชี้แนะแนวทางในการทำวิจัย เพื่อให้งานวิจัยได้ผลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยไว้ว่าเป็นวัยรุ่นชาย ดังนั้นจึงมีการศึกษาเรื่องความต้องการด้านภาพลักษณ์ของวัยรุ่นชายไว้ด้วย งานวิจัยชิ้นนี้แบ่งการเก็บผลการวิจัยออกเป็นสองส่วน ซึ่งได้แก่ ส่วนที่ 1 ผลสรุปจากแบบสอบถามที่ตอบและเสนอแนะโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยจะมีเกณฑ์การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบแบบสอบถามที่ได้ แบบสอบถามจะมี 30 ชุด สมบูรณ์ทั้ง 30 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS พบว่าสีและแบบตัวอักษรบางแบบสื่อนัยสำคัญถึงการสื่อสารชนิดของนมโคส่วนที่ 2 ผลสรุปจากข้อมูลการตลาด และข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ในส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์สิ่งที่นำมาใช้ได้ในงานวิจัยจากข่าว หรือวรรณกรรมต่างๆ เช่นการเลือกชนิดของนมโคที่จะนำมาใช้ในงานวิจัย ต้องคำนึงถึงสภาพการตลาดของไทยในปัจจุบันด้วยว่านมโคชนิดใดเหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับประเทศไทย และรวมไปถึงการเลือกกลุ่มเป้าหมายในการทำงานวิจัยด้วย โดยในงานวิจัยชิ้นนี้เลือกกลุ่มเป้าหมายจากการวิเคราะห์หาช่องว่างทางการตลาดที่ยี่ห้ออื่นๆยังเหลือว่างไว้ จากการศึกษาพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่สามารถสื่อสารประเภทของนมโคได้ชัดเจนควรมีองค์ประกอบดังนี้ 1) การใช้สี ควรจะใช้สีหลักๆ 1 สี โดยส่วนมากมักเน้นสีฟ้าเป็นหลัก โดยความเข้ม-อ่อนของสีนั้นส่วนมากจะขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันที่มีในนมโคแต่ละประเภท มียกเว้นในประเภทแคลเซียมสูง 2) การใช้แบบตัวอักษรพบว่า ความหนา-บางของตัวอักษรขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันในแต่ละชนิดของนมโคเช่นเดียวกันกับสี 3) การใช้รูปภาพนั้น ภาพวาดประกอบเป็นภาพที่ถูกเลือกมากที่สุด แต่ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้แนะว่ารูปภาพนั้นควรขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายและการวางตำแหน่งของสินค้ามากกว่า การใช้รูปเพื่อบ่งบอกถึงชนิดของนมโคนั้นเป็นเรื่องยากกว่าการใช้สีและแบบตัวอักษร 4) รูปทรงของบรรจุภัณฑ์พบว่าผู้เชี่ยวชาญเลือกแบบเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ และผู้เชี่ยวชาญเลือกแบบเดียวกันในทุกประเภทของนมโคอีกด้วย |
บรรณานุกรม | : |
ภัทรพร อัฉริยะศิลป์ . (2550). การออกแบบเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารประเภทของผลิตภัณฑ์นมโค.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัทรพร อัฉริยะศิลป์ . 2550. "การออกแบบเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารประเภทของผลิตภัณฑ์นมโค".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัทรพร อัฉริยะศิลป์ . "การออกแบบเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารประเภทของผลิตภัณฑ์นมโค."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. ภัทรพร อัฉริยะศิลป์ . การออกแบบเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารประเภทของผลิตภัณฑ์นมโค. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|