ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
นักวิจัย | : | นันทกาญจน์ เบ็ญเด็มอะหลี |
คำค้น | : | ศาสนาอิสลาม -- ไทย (ภาคใต้) , ปอเนาะ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อารง สุทธาศาสน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743342818 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12573 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สำหรับกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนปอเนาะระบบเก่า, กลุ่มนักเรียน, และกลุ่มโต๊ะครูหรือเจ้าของโรงเรียน จำนวน 300 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ใช้วิธีการหาค่าจำนวน (Frequency) หาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นส่วนใหญ่พบว่า ความต้องการที่จะสืบทอดศาสนาอิสลาม เป็นเหตุสำคัญยิ่ง ที่มีผลต่อการคงสภาพของโรงเรียนปอเนาะไม่ว่าจะเป็นในระดับความต้องการของกลุ่มผู้ปกครอง ความต้องการของกลุ่มผู้เรียนระบบการศึกษาในโรงเรียนปอเนาะระบบเก่า และวิธีการเรียน การสอนระบบเก่า ซึ่งล้วนแล้วมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการสืบทอดศาสนาอิสลาม เป็นเหตุสำคัญที่มีผลทำให้โรงเรียนปอเนาะคงสภาพไว้ในปัจจุบันเพราะถือได้ว่าเป็นหน้าที่พิเศษในการสืบทอดศาสนาอิสลามของชาวมุสลิมทุกคนทั่วโลก ที่จะต้องปฏิบัติเผยแผ่ต่อไป เพื่อชนรุ่นหลังของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยทางด้านศาสนาในการสืบทอดศาสนาอิสลามเป็นเหตุสำคัญอย่างยิ่งทั้งในระดับความต้องการของกลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มผู้เรียนที่ยังคงเรียกร้องต่อการเข้ามาศึกษาในโรงเรียนปอเนาะระบบเก่าซึ่งส่งผลทำให้กลุ่มโรงเรียนปอเนาะระบบเก่าในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการคงสภาพไว้ได้มากกว่าปัจจัยทางด้านอื่นๆ เพราะในสังคมชาวไทยมุสลิมนั้นมีความเคร่งครัดในศาสนามาก จึงทำให้ความต้องการในด้านต่างๆ ต้องสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมทางด้านศาสนามากขึ้นเท่านั้น และการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนปอเนาะ นับได้ว่าเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลังของชาวไทยมุสลิม ในส่วนทางด้านการศึกษาของการเรียนศาสนานั้นเรียกว่าเป็นสถาบันทางด้านศาสนาอย่างหนึ่งต่อการสืบทอดศาสนาอิสลามต่อไป ซึ่งการศึกษาเป็นแกนกลางที่สำคัญยิ่งสำหรับพลเมืองในประเทศต่อการพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมและอารยธรรมของสังคม |
บรรณานุกรม | : |
นันทกาญจน์ เบ็ญเด็มอะหลี . (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทกาญจน์ เบ็ญเด็มอะหลี . 2542. "ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทกาญจน์ เบ็ญเด็มอะหลี . "ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. นันทกาญจน์ เบ็ญเด็มอะหลี . ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|