ชื่อเรื่อง | : | นโยบายต่างประเทศของไทย : ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อปัญหากัมพูชา (4 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991) |
นักวิจัย | : | สุณัย ผาสุข |
คำค้น | : | ชาติชาย ชุณหะวัณ, พล.อ., 2465-2541 , ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- กัมพูชา , กัมพูชา -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เขียน ธีระวิทย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746363379 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12483 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 เพื่อศึกษานโยบายต่างประเทศของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อปัญหากัมพูชา โดยเน้นปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง และปฏิสัมพันธ์ลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงาน และบุคคลฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรี คณะที่ปรึกษาด้านนโยบายและกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งศึกษาผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน และบุคคลเหล่านี้ที่มีต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในการดำเนินนโยบายต่อปัญหากัมพูชา ผลการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งในกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อปัญหากัมพูชาของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีสาเหตุหลักมาจากจุดยืนที่แตกต่างกันระหว่างฝ่ายทำเนียบรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ โดยขณะที่นายกรัฐมนตรี และคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายริเริ่มใหม่ด้วยการติดต่อกับระบอบเฮง สัมรินอย่างเปิดเผย และเสนอให้แก้ไขปัญหากัมพูชาไปทีละประเด็น รวมทั้งได้ประกาศนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนนั้น กระทรวงการต่างประเทศยังคงเชื่อมั่นในความถูกต้องของนโยบายแนวทางเดิมที่เน้นการร่วมมือกับอาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และมิตรประเทศอื่นๆ กดดันเวียดนาม และระบอบเฮง สัมรินด้วยมาตรการทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารอย่างแข็งกร้าวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหากัมพูชาอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งในที่สุดแล้วฝ่ายทำเนียบรัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อปัญหากัมพูชามากกว่ากระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นโยบายต่างประเทศตามแนวทางของฝ่ายทำเนียบรัฐบาลเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพในกัมพูชา เนื่องจากสาเหตุสำคัญสองประการ คือ (1) เป็นนโยบายที่สร้างความเป็นต่อให้กับระบอบเฮง สัมริน และกีดกันเขมรแดง และ (2) เป็นนโยบายดำเนินไปในทางที่มุ่งสร้างความโดดเด่นให้กับนายกรัฐมนตรี และคณะที่ปรึกษาด้านนโยบาย โดยขาดทักษะทางการฑูตที่เหมาะสม สำหรับการติดต่อค้าขายกับระบอบเฮง สัมรินตามนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" นั้น ผลการวิจัยพบว่า นักธุรกิจไทยไม่ประสบความสำเร็จมากเหมือนกับที่มีการประชาสัมพันธ์เอาไว้ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการสู้รบในกัมพูชาที่ยังคงดำเนินอยู่ |
บรรณานุกรม | : |
สุณัย ผาสุข . (2539). นโยบายต่างประเทศของไทย : ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อปัญหากัมพูชา (4 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991).
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุณัย ผาสุข . 2539. "นโยบายต่างประเทศของไทย : ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อปัญหากัมพูชา (4 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991)".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุณัย ผาสุข . "นโยบายต่างประเทศของไทย : ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อปัญหากัมพูชา (4 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991)."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. สุณัย ผาสุข . นโยบายต่างประเทศของไทย : ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อปัญหากัมพูชา (4 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|