ชื่อเรื่อง | : | ขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ไทยสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ |
นักวิจัย | : | วรรณภา ชำนาญกิจ |
คำค้น | : | ศิลปะการประพันธ์ , กวีนิพนธ์ไทย , เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ -- การวิจารณ์และการตีความ , อังคาร กัลยาณพงศ์ -- การวิจารณ์และการตีความ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12435 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ใน กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เพื่อให้เห็นคุณค่าของกวีนิพนธ์ของกวีทั้งสองในฐานะที่สืบทอดความเป็นตำรา ประพันธศาสตร์ดุจเดียวกับที่วรรณคดีชั้นครูโบราณได้กระทำมาแล้วในจารีตนิยม ของไทย ผลการวิจัยพบว่า อังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์รังสรรค์งานกวีนิพนธ์สืบทอดแนวคิดเรื่องความงามและคุณค่า ของกวีนิพนธ์ในขนบวรรณศิลป์ของไทย และได้ถ่ายทอดแนวคิดเรื่องปรัชญาแห่งวรรณคดีคือความสมบูรณ์ของวรรณศิลป์และ ความงามแห่งจิตวิญญาณ เป็นรูปธรรมในรูปแบบบทกวีนิพนธ์ว่าด้วยธรรมชาติและหน้าที่ของกวีนิพนธ์ การสืบทอดและการสร้างสรรค์ขนบวรรณศิลป์ที่สั่งสมเป็นองค์ความรู้ประพันธ ศาสตร์ในวรรณคดีแบบฉบับอันปรากฎในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่สะท้อนให้เห็นแนวคิด ในการสร้างมาตรฐานวรรณศิลป์ของกวีนิพนธ์ ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และกลวิธีทางวรรณศิลป์ และคุณค่าแห่งจิตวิญญาณ การนำเสนอเนื้อหาที่เน้นความคิดเข้มข้นลึกซึ้งนับเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่ง ของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่การสื่อแนวคิดพุทธธรรมเป็นขนบด้านเนื้อหา แสดงให้เห็นการเน้นคุณค่าของกวีนิพนธ์ในการสื่อความงามแห่งจิตวิญญาณ เนื้อหาที่ชี้นำและปลุกเร้าความคิดของผู้อ่านให้ขบคิดและตีความในเชิงคำสอน เกี่ยวกับปรัชญาชีวิตย่อมกระตุ้นการรับรู้ผ่านผัสสะและการพินิจสาร กระบวนการสร้างและการอ่านกวีนิพนธ์จึงเป็นกระบวนการขัดเกลาจิตใจทั้งของผู้ สร้างและผู้อ่านให้วิจิตรประณีต ความงดงามในด้านรูปแบบและเนื้อหาที่ประสานกลมกลืนกันของบทกวีนิพนธ์ที่กวี ได้รังสรรค์ขึ้นอย่างประณีตนับเป็นแนวคิดประพันธศาสตร์ที่สืบทอดมายาวนานใน ขนบวรรณศิลป์ไทย การสืบทอดและการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์โดยมีพื้นฐานความรู้ประพันธศาสตร์จากการ ศึกษาวรรณคดีโบราณในฐานะเป็นวรรณคดีชั้นครู ทำให้อังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์สามารถรังสรรค์กวีนิพนธ์ให้มีคุณค่าเทียบเคียงได้กับวรรณคดีแบบ ฉบับอาจนับเป็นต้นแบบของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ งานของกวีในรุ่นหลัง กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ จึงมีคุณค่าในฐานะเป็นตำราประพันธศาสตร์ คุณค่าของกวีนิพนธ์และวรรณคดีนี้ปรากฏเป็นแนวคิดสำคัญที่สืบทอดมายาวนานใน ปรัชญาวรรณศิลป์ |
บรรณานุกรม | : |
วรรณภา ชำนาญกิจ . (2549). ขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ไทยสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรรณภา ชำนาญกิจ . 2549. "ขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ไทยสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรรณภา ชำนาญกิจ . "ขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ไทยสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. วรรณภา ชำนาญกิจ . ขนบวรรณศิลป์กับประพันธศาสตร์ไทยสมัยใหม่ในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|