ชื่อเรื่อง | : | โครงการศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง/ข้อตกลงระหว่างประเทศ |
นักวิจัย | : | กษมา กองสมัคร , กษิติธร ภูภราดัย , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Kasama Kongsmak , Kasititorn Pooparadai , Piengpen Butkatanyoo |
คำค้น | : | Audio-visual service , Business and management , Commerce, management and services , Free trade , Information technology , Music , Recording , การค้าเสรีและการคุ้มครอง , การเจรจาการค้า , บริการโสตทัศนวัสดุ , ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ , สิ่งบันทึกเสียง , เทคโนโลยีสารสนเทศ , เำพลง |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/9220 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | บริการโสตทัศน์ (Audiovisual Services) เป็นสาขาการค้าบริการที่มีความสำคัญและประกอบด้วยธุรกิจย่อยอยู่เป็นจำนวนมากทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ส่งสัญญาณสื่อโสตทัศน์ อีกทั้งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงของไทย ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในสาขาการค้าบริการที่ได้รับการเรียกร้องจากประเทศคู่เจรจาในเวทีการเจรจาการค้าเสรีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2538 ไทยเคยยื่นข้อผูกพันภายใต้ WTO ที่จะเปิดตลาดบริการโสตทัศน์ย่อยบางรายการ ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์และวีดีโอ การผลิตรายการสำหรับวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งผูกพันเปิดตลาดให้คนต่างด้าวมาลงทุนและทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญไว้ไม่เกินกว่าขอบเขตของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่ได้ผูกพันที่จะเปิดให้ชาวต่างชาติให้บริการข้ามพรมแดนเข้ามาในประเทศไทยได้ (Cross Border Services) ปัจจุบันบริการโสตทัศน์มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือรายการที่นำเสนอเข้าสู่ตลาด วิธีการซื้อขายบริการซึ่งมีการซื้อขายผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มากขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคยังมีความต้องการรับชมและทราบวัฒนธรรมที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องของไทยยังขาดการศึกษาข้อมูลภาพรวม กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ปัญหาอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ ความพร้อมของไทยในการเปิดตลาดของธุรกิจบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนความต้องการของไทยในการเรียกร้องให้ประเทศคู่เจรจาเปิดตลาดให้มากขึ้น ดังการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการรอบโดฮา ประเทศไทยได้รับข้อเรียกร้องเบื้องต้น (Initial Request) ในปี 2545 ในสาขาบริการโสตทัศน์จาก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา โดยประเทศเหล่านี้ได้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้น จำนวนผู้ถือหุ้นต่างชาติ และปริมาณการนำเข้าภาพยนตร์ รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศไทยผูกพันการให้บริการข้ามพรมแดน และไม่เลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติกับคนต่างชาติด้วย นอกจากนี้บางประเทศยังขอให้ไทยยกเลิกกฎระเบียบภายในบางประการ ขอให้ขยายขอบเขตของกิจกรรมการให้บริการให้รวมถึงการฉายภาพยนตร์ บริการผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์และวีดีโอ และบริการเกี่ยวกับสิ่งบันทึกเสียง นอกจากนี้ การเจรจาทางด้านบริการโสตทัศน์ในหลายๆ ประเทศยังได้แสดงให้เห็นความหลากหลายในประเด็นที่ประเทศคู่เจรจาแต่ละรายให้ความสนใจ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามุ่งเจรจาในประเด็นที่เกี่ยวกับสินค้าดิจิทัล (digital products) และประเทศเกาหลีใต้มุ่งเจรจาในประเด็นที่เกี่ยวกับการแพร่ภาพแพร่เสียง ดังนั้น การเจรจาทางด้านบริการโสตทัศน์ของไทยกับแต่ละประเทศคู่เจรจาจึงต้องดำเนินการโดยมีความเข้าใจในสถานภาพการพัฒนาบริการโสตทัศน์ของประเทศคู่เจรจานั้นๆ เพื่อสามารถประเมินท่าทีของประเทศคู่เจรจาได้อย่างถูกต้อง และใช้ข้อมูลดังกล่าวในการจัดเตรียมท่าทีของประเทศไทยในการเจรจากับประเทศคู่เจรจาได้อย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย และนอกจากการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการเจรจาการค้า การศึกษาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ยังสามารถช่วยให้ภาคเอกชนของไทยเตรียมความพร้อมและปรับตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลซึ่งผ่านการวิเคราะห์ในมิติต่างๆ ประกอบการจัดเตรียมท่าทีของประเทศไทย รวมถึงแนวทางการเตรียมพร้อมของภาคเอกชนและภาครัฐของไทยในการรองรับการเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้จัดให้มีการศึกษาวิจัย “โครงการศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง” ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดท่าทีการเจรจาและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย |
บรรณานุกรม | : |
กษมา กองสมัคร , กษิติธร ภูภราดัย , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Kasama Kongsmak , Kasititorn Pooparadai , Piengpen Butkatanyoo . (2551). โครงการศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง/ข้อตกลงระหว่างประเทศ.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. กษมา กองสมัคร , กษิติธร ภูภราดัย , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Kasama Kongsmak , Kasititorn Pooparadai , Piengpen Butkatanyoo . 2551. "โครงการศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง/ข้อตกลงระหว่างประเทศ".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. กษมา กองสมัคร , กษิติธร ภูภราดัย , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Kasama Kongsmak , Kasititorn Pooparadai , Piengpen Butkatanyoo . "โครงการศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง/ข้อตกลงระหว่างประเทศ."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2551. Print. กษมา กองสมัคร , กษิติธร ภูภราดัย , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Kasama Kongsmak , Kasititorn Pooparadai , Piengpen Butkatanyoo . โครงการศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง/ข้อตกลงระหว่างประเทศ. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2551.
|