ชื่อเรื่อง | : | รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ทรัพย์สินทางปัญญา |
นักวิจัย | : | ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , ดิเรก เจริญผล , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Chadamas Thuvasethakul , Piengpen Butkatanyoo , Direk Chareonpol |
คำค้น | : | Business and management , Commerce, management and services , Free trade , Information technology , Intellectual propert , Intellectual property valuation and management , การค้าเสรีและการคุ้มครอง , การเจรจาการค้า , ทรัพย์สินทางปัญญา , ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ , เทคโนโลยีสารสนเทศ |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/8929 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของไทยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาจเกี่ยวข้องกับการค้าและบริการด้านโทรคมนาคม ด้านคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการค้าและการบริการในกิจการข้างต้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ ประเด็นใหม่ๆด้านทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมการค้าการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันจะนำไปสู่การขยายตัวของการเจริญเติบโตทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การค้าและบริการในประเด็นข้างต้น รวมทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสม อาจรวมเรียกได้ว่าเป็นประเป็นทางการค้าในยุคดิจิทัล (digital trade agenda) ที่สำคัญในปัจจุบัน รายงานในส่วนนี้ จะนำเสนอประเด็นใหม่ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เช่นการคุ้มครองเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้เพื่อป้องกันการเข้าถึงและการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้ชื่อโดเมนกับเครื่องหมายการค้า การคุ้มครองสัญญาณดาวเทียมบันทึกรายการที่เข้ารหัสไว้ และการจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งประเด็นเหล่านี้ เป็นประเด็นใหม่ที่ได้ขยายความคุ้มครองแก่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามากกว่ามาตรฐานภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Trade Related Intellectual Property Rights (TRIPS) มาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ TRIPS เหล่านี้ได้ถูกประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่าเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำ และไม่เพียงพอต่อการปกป้องงานลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลอีกต่อไป เนื่องจากงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้ถูกแปรไปอยู่ในรูปดิจิตอลมากขึ้น และมีการขยายการเจริญเติบโตทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นได้ง่าย รวดเร็ว |
บรรณานุกรม | : |
ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , ดิเรก เจริญผล , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Chadamas Thuvasethakul , Piengpen Butkatanyoo , Direk Chareonpol . (2549). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ทรัพย์สินทางปัญญา.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , ดิเรก เจริญผล , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Chadamas Thuvasethakul , Piengpen Butkatanyoo , Direk Chareonpol . 2549. "รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ทรัพย์สินทางปัญญา".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , ดิเรก เจริญผล , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Chadamas Thuvasethakul , Piengpen Butkatanyoo , Direk Chareonpol . "รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ทรัพย์สินทางปัญญา."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2549. Print. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , ดิเรก เจริญผล , ปริญญา ชฏิลาลัย , เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู , Chadamas Thuvasethakul , Piengpen Butkatanyoo , Direk Chareonpol . รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมการมีบทบาทเชิงรุกของไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ทรัพย์สินทางปัญญา. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2549.
|