ชื่อเรื่อง | : | ระบบสำหรับการแปลง จัดเก็บและวิเคราะห์แบบจำลองฟันดิจิตอล |
นักวิจัย | : | จันทร์จิรา สินทนะโยธิน , วิศรุต พลสิทธิ์ , สรรพฤทธิ์ มฤคทัต , นลพรรษ วงแหวน , Chanjira Sinthanayothin , Wisarut Bholsithi , Sanparith Marukatat , Nonlapas Wongwaen |
คำค้น | : | Artificial Intelligence and signal and image processing , Digital techniques , Image processing , Information, computing and communication sciences , Modeling , Orthodontics , การประมวลผลภาพ , ทันตกรรมจัดฟัน , ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ , เทคนิคดิจิทัล , แบบจำลองฟันปูนปลาสเตอร์ |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/4867 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานทันตกรรมจัดฟัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้านอื่นๆ มาประยุกต์ใช้งานทางทันตกรรมจัดฟัน อาทิเช่น ความรู้ทางด้านภาพ X-ray และ CT, เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ, การพัฒนาระบบเนตเวอร์และฐานข้อมูลสำหรับงานทันตกรรม เป็นต้น ประเภทที่สอง เป็นการพัฒนาโปรแกรม หรือ การประยุกต์ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมจัดฟันและจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางทันตกรรมจัดฟันเข้ามาร่วมด้วยค่อนข้างมาก และเมื่อพัฒนาแล้วต้องมีการทดสอบในเชิงคลีนิค อาทิเช่น เซฟฟาโลเมตริกซ์ การวางแผนการรักษา การวิเคราะห์โมเดลฟันใน 3 มิติ การจำลองการรักษา ตลอดจนการวางแผนการผ่าตัดและการจำลองการรักษา จากผลงานที่ผ่านมา นักวิจัยได้ดำเนินการพัฒนา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานทันตกรรมจัดฟัน แบบประเภทที่ 2 กล่าวคือ จำเป็นต้องมีการนำความรู้ของทันตแพทย์จัดฟัน และความรู้ในเรื่องการพัฒนาโปรแกรมของนักวิจัย มาผสมผสานเพื่อพัฒนาซอฟแวร์ทางทันตกรรมจัดฟัน อันได้แก่ CephSmile V.1.0-2.0 และ AlignBracket3D V.1.0 แต่ในงานวิจัยต่างๆ ยังขาดแคลนซึ่งเครื่องมือที่สำคัญอันได้แก่ Optical 3D Scanner เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาต่อไป ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ ที่จะพัฒนา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานทันตกรรมจัดฟัน ประเภทแรก ได้แก่ S/W AnaDent3D Viewer เพื่อที่จะสามารถให้บริการการถ่ายภาพแบบจำลองฟันใน 3 มิติแก่ทันตแพทย์ทั่วไป ซึ่งปัจจุบัน ผู้ป่วยที่มีทำการจัดฟัน 1 คนจำเป็นต้องพิมพ์ฟันอย่างน้อย 3 ครั้ง ก่อน ระหว่างและหลังการรักษา และกฎหมายไทยได้ออกมาใหม่ว่า แบบจำลองฟันปูนปลาสเตอร์ของผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องเก็บไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งทันตแพทย์จะมีข้อมูลแบบจำลองฟันปูนปลาสเตอร์ของผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นโครงการนี้สามารถให้บริการ และจะสามารถลดการเก็บการแบบจำลองฟันปูนปลาสเตอร์ของผู้ป่วย และแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล และ S/W AnaDent3D Viewer จะทำให้ทันตแพทย์สามารถใช้ในการเปิดข้อมูล และเปรียบเทียบผลการรักษาในคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ นักวิจัยยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนา ฐานข้อมูลทางทันตกรรมของประชากรไทย เพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือ พิสูจน์ตัวบุคคลในกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ อาทิเช่น ซินามิ หรือช่วยในการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางทันตกรรมได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังนำไปประยุกตืใช้ในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานทันตกรรมจัดฟัน ในประเภทที่ 2 ต่อไปได้อีกด้วย |
บรรณานุกรม | : |
จันทร์จิรา สินทนะโยธิน , วิศรุต พลสิทธิ์ , สรรพฤทธิ์ มฤคทัต , นลพรรษ วงแหวน , Chanjira Sinthanayothin , Wisarut Bholsithi , Sanparith Marukatat , Nonlapas Wongwaen . (2553). ระบบสำหรับการแปลง จัดเก็บและวิเคราะห์แบบจำลองฟันดิจิตอล.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. จันทร์จิรา สินทนะโยธิน , วิศรุต พลสิทธิ์ , สรรพฤทธิ์ มฤคทัต , นลพรรษ วงแหวน , Chanjira Sinthanayothin , Wisarut Bholsithi , Sanparith Marukatat , Nonlapas Wongwaen . 2553. "ระบบสำหรับการแปลง จัดเก็บและวิเคราะห์แบบจำลองฟันดิจิตอล".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. จันทร์จิรา สินทนะโยธิน , วิศรุต พลสิทธิ์ , สรรพฤทธิ์ มฤคทัต , นลพรรษ วงแหวน , Chanjira Sinthanayothin , Wisarut Bholsithi , Sanparith Marukatat , Nonlapas Wongwaen . "ระบบสำหรับการแปลง จัดเก็บและวิเคราะห์แบบจำลองฟันดิจิตอล."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553. Print. จันทร์จิรา สินทนะโยธิน , วิศรุต พลสิทธิ์ , สรรพฤทธิ์ มฤคทัต , นลพรรษ วงแหวน , Chanjira Sinthanayothin , Wisarut Bholsithi , Sanparith Marukatat , Nonlapas Wongwaen . ระบบสำหรับการแปลง จัดเก็บและวิเคราะห์แบบจำลองฟันดิจิตอล. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2553.
|