ชื่อเรื่อง | : | เครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวก้อยกับอัลลีลควบคุมลักษณะน้ำหนักตัวเพื่อใช้ในการปรับปรุงลักษณะไก่กระทง |
นักวิจัย | : | วรวิทย์ สิริพลวัฒน์ , Voravit Siripholvat |
คำค้น | : | Animal biotechnology and related animal science , Biological sciences , Body weight , Broilers (Chickens) , BT-38-06-API-11-4 , Genetic markers , Poultry science , น้ำหนัก , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา , เครื่องหมายพันธุกรรม , ไก่กระทง |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/3004 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | คัดเลือกไก่เนื้อสายพันธุ์หนัก (HB) และสายพันธุ์เบา (LB) โดยใช้วิธีการตรวจสอบความหลากหลายของแถบดีเอนเอที่แตกต่างระหว่างสายพันธุ์ ทั้งสอง ด้วยเทคนิค RAPD เพื่อเก็บเป็นพ่อแม่พันธุ์ ทำการผสมเทียมได้ลูกรุ่น F1 มีลักษณะน้ำหนักตัวเมื่ออายุ 6 สัปดาห์เฉลี่ย 1,141.6 กรัม สุ่มคัดเลือกลูกรุ่น F1 ทั้งเพศผู้และเพศเมียเก็บเป็นพ่อแม่พันธุ์ ผสมให้ลูกรุ่น F2 มีลักษณะน้ำหนักตัวเมื่ออายุ 6 สัปดาห์เฉลี่ย 977.0 กรัม ลูกรุ่น F2 ถูกเจาะเลือดเพื่อตกตะกอนดีเอนเอเป็นรายตัว จำนวน 325 ตัว ดีเอนเอไก่เป็นรายตัวดังกล่าวถูกนำมาตรวจหาความหลากหลายของแถบดีเอนเอด้วย microsatellite primers จำนวน 22 marker loci ที่พบว่าทำให้เกิดความหลากหลาย และสามารถอธิบายผลการถ่ายทอดของแถบดีเอนเอ ให้เป็นไปตามกฏของเมนเดล ข้อมูลน้ำหนักเมื่ออายุ 6 สัปดาห์และ genotype ของแถบดีเอนเอที่ได้เป็นรายตัวของแต่ละ primer ในลูกรุ่น F2 ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติแบบ ANOVA พบว่าค่า F-test ที่ได้จาก primer ของแต่ละ marker locus ไม่แสดงผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงว่าความหลากหลายของแถบดีเอนเอที่เกิดจากแต่ละ primer ไม่มีผลเกี่ยวข้องกับลักษณะน้ำหนักตัวเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ ดีเอนเอในลูกรุ่น F2 รายตัวของกลุ่มน้ำหนักมากสุดและกลุ่มน้ำหนักน้อยสุดในแต่ละครอบครัว จำนวน 3 ครอบครัว ถูกนำมารวมกันกลุ่มละ 2-3 ตัว เพื่อเปรียบเทียบความหลากหลายของแถบดีเอนเอ ระหว่างกลุ่มน้ำหนักมากสุดและกลุ่มน้ำหนักน้อยสุด จากการใช้ combination primers 38 ชนิดของเทคนิค AFLP พบความหลากหลายของแถบดีเอนเอจำนวน 105 แถบ แต่มีเพียง 6 แถบที่ให้ผลไปในทางเกี่ยวข้องกับลักษณะน้ำหนักตัว ในจำนวน 6 แถบดังกล่าว มี 5 แถบที่มีขนาดของแถบดีเอนเอมากกว่า 100 bp และได้ถูกตรวจหาลำดับเบส เพื่อออกแบบ primer ที่เจาะจงกับแถบดีเอนเอเหล่านั้นด้วยเทคนิค SCAR พบว่า primers ที่ออกแบบทั้ง 5 มีเพียง primer เดียวที่ให้ผลยืนยันความแตกต่างของแถบดีเอนเอระหว่างไก่กลุ่มน้ำหนักมากกับ กลุ่มน้ำหนักน้อย และเป็นเครื่องหมายที่ช่วยสำหรับการคัดเลือก |
บรรณานุกรม | : |
วรวิทย์ สิริพลวัฒน์ , Voravit Siripholvat . (2542). เครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวก้อยกับอัลลีลควบคุมลักษณะน้ำหนักตัวเพื่อใช้ในการปรับปรุงลักษณะไก่กระทง.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วรวิทย์ สิริพลวัฒน์ , Voravit Siripholvat . 2542. "เครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวก้อยกับอัลลีลควบคุมลักษณะน้ำหนักตัวเพื่อใช้ในการปรับปรุงลักษณะไก่กระทง".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วรวิทย์ สิริพลวัฒน์ , Voravit Siripholvat . "เครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวก้อยกับอัลลีลควบคุมลักษณะน้ำหนักตัวเพื่อใช้ในการปรับปรุงลักษณะไก่กระทง."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2542. Print. วรวิทย์ สิริพลวัฒน์ , Voravit Siripholvat . เครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวก้อยกับอัลลีลควบคุมลักษณะน้ำหนักตัวเพื่อใช้ในการปรับปรุงลักษณะไก่กระทง. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2542.
|