ชื่อเรื่อง | : | การโคลนยีนและการหาปริมาณการแสดงออกของเอ็มอาร์เอ็นเอของโปรตีนป้องกันตนเองในกุ้งแชบ๊วย |
นักวิจัย | : | ประภาพร อุทารพันธุ์ , Prapaporn Utarabhand |
คำค้น | : | Animal biotechnology and related animal science , Banana shrimp , Biological sciences , Marine and freshwater biology , Molecular cloning , P-00-10211 , Penaeus merguiensis , การโคลนยีน , กุ้งแชบ๊วย , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/2917 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | กุ้งแชบ๊วยเป็นกุ้งชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จากการที่จำนวนกุ้งจากแหล่งธรรมชาติมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว การเพาะเลี้ยงกุ้งจึงมีการพัฒนาอย่างมาก นอกจากวิธีการเพาะเลี้ยงให้ได้กุ้งปริมาณมากแล้ว มักมีการระบาดของโรคที่เกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรียก่อโรค ครัสเตเชียนมีกลไกป้องกันตนเองจากโรคระบาด สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังไม่มีระบบภูมิคุ้มกัน แต่จะพัฒนาการป้องกันตนเองโดยจดจำผิวเซลล์ของเชื้อก่อโรคโดยทำให้เกิดการ แข็งตัวของเลือด การเกาะกลุ่มหรือกลืนกินเซลล์บุกรุก เลคตินเกี่ยวข้องกับการป้องกันตนเองของสัตว์เพราะมีความจดจำจำเพาะกับน้ำตาล บนผิวของแบคทีเรียทำให้แบคทีเรียเกาะกลุ่มหรือกระตุ้นการกลืนกินแบคทีเรีย โดยเม็ดเลือดแดง ได้มีการศึกษาเลคตินในกุ้ง penaeid หลายชนิดพบว่าแม้มีโครงสร้างแตกต่างกัน แต่บทบาททางชีวภาพในการจับจำเพาะจะเหมือนกัน นอกเหนือจากการเกี่ยวข้องกับการป้องกันตนเองแล้ว เลคตินในครัสเตเชียนยังช่วยขนส่งน้ำตาลเชิงซ้อน พัฒนาการเจริญพันธุ์ของกุ้งเพศเมียเกิดจากการสะสมของโยล์คโปรตีนอย่างรวด เร็วในไข่ ในช่วงการเจริญพันธุ์ มีการสร้างไกลโคโปรตีน (ไวเทลโลจีนิน) ที่พบเฉพาะในเพศเมีย จากภายนอกรังไข่ แล้วขนส่งผ่านฮีโมลิมฟ์ไปสะสมในไข่ที่กำลังเจริญ เชื่อกันว่าเลคตินเป็นตัวขนส่งไวเทลโลจีนินในขั้นตอนการสร้างไวเทลโลจีนิ นดังกล่าว แต่บทบาทของเลคตินยังไม่ทราบแน่ชัดเพราะขาดความรู้กลไกการแสดงออกของยีนเล คติน โครงการวิจัยนี้จึงสนใจที่จะโคลนยีนเลคตินและใช้เป็น molecular probe ในการตรวจหาการแสดงออกเชิงปริมาณของ lectin mRNA ของกุ้งที่กระตุ้นให้ติดโรคหรือเมื่อมีพัฒนาการเจริญพันธุ์ของรังไข่ระยะ ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การผลิตกุ้งแชบ๊วยหรือกุ้ง penaeid ชนิดอื่นในระบบการเพาะเลี้ยงต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
ประภาพร อุทารพันธุ์ , Prapaporn Utarabhand . (2551). การโคลนยีนและการหาปริมาณการแสดงออกของเอ็มอาร์เอ็นเอของโปรตีนป้องกันตนเองในกุ้งแชบ๊วย.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ประภาพร อุทารพันธุ์ , Prapaporn Utarabhand . 2551. "การโคลนยีนและการหาปริมาณการแสดงออกของเอ็มอาร์เอ็นเอของโปรตีนป้องกันตนเองในกุ้งแชบ๊วย".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ประภาพร อุทารพันธุ์ , Prapaporn Utarabhand . "การโคลนยีนและการหาปริมาณการแสดงออกของเอ็มอาร์เอ็นเอของโปรตีนป้องกันตนเองในกุ้งแชบ๊วย."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2551. Print. ประภาพร อุทารพันธุ์ , Prapaporn Utarabhand . การโคลนยีนและการหาปริมาณการแสดงออกของเอ็มอาร์เอ็นเอของโปรตีนป้องกันตนเองในกุ้งแชบ๊วย. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2551.
|