ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium สำหรับควบคุมโรคข้าว |
นักวิจัย | : | ฤดีกร วิวัฒนปฐพี , Ruedeekorn Wiwattanapatapee |
คำค้น | : | Bacillus megaterium , Bacterial antagonist , Biological control systems , Biological sciences , BT-B-01-XG-18-4801 , Plant biotechnology , Plant biotechnology and related agricultural science , Plant diseases , Rice , Rice sheath blight , การควบคุมโดยชีววิทยา , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา , สูตรตำรับ , เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ , โรคกาบใบแห้ง |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/1945 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium ให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย มีความคงตัว และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว โดยเริ่มจากการเพาะเลี้ยงและหาสภาวะเหมาะสมในการผลิตสปอร์แบคทีเรียปฏิปักษ์ B. megaterium พบว่า การเพาะเลี้ยงแบคทีเรียปฏิปักษ์ในถังหมักขนาด 30 ลิตร และใช้อาหารที่มีมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ 20 ลิตร เลี้ยงไว้ที่อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส อัตราการกวน 200 รอบ/นาที และให้อากาศ 1 vvm เป็นเวลา 4 วัน เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์สามารถผลิตสปอร์ได้สูงสุด การพัฒนาสูตรตำรับแกรนูลสำหรับฉีดพ่นด้วยวิธี wet granulation ซึ่งประกอบด้วย sodium alginate, lactose และ polyvinyl pyrrolidone K-30 พบว่า สูตรตำรับฉีดพ่นมีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสม ละลายน้ำได้ดี มีความหนืดที่เหมาะสมและไม่อุดตันหัวฉีด มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเส้นใยของเชื้อราสาเหตุสูง (97.16 %) มีปริมาณเชื้อที่อยู่รอดบนใบและกาบใบข้าวสูง และมีปริมาณเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในสูตรตำรับ 109 CFU/g หลังจากเก็บไว้เป็นเวลา 19 เดือน สามารถควบคุมและยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุ R. solani ได้ดี ในสภาพเรือนทดลอง การพัฒนาสูตรตำรับแบคทีเรียแกรนูลฟู่สำหรับหว่านหรือฉีดพ่น เตรียมด้วยวิธี wet granulation โดยใช้ citric acid, tartaric acid, sodium bicarbonate, lactose และ polyvinyl pyrrolidone K-30 พบว่า สูตรตำรับแกรนูลฟู่ มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสม แตกกระจายตัวได้ดีและรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเส้นใยของเชื้อราสาเหตุสูง (98.31 %) เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์อยู่รอดบนใบและกาบใบข้าวสูง และมีปริมาณเชื้อในสูตรตำรับ 109 CFU/g หลังจากเก็บไว้เป็นเวลา 16 เดือน ในสภาพเรือนทดลอง พบว่า การหว่านและฉีดพ่นด้วยสูตรตำรับแกรนูลฟู่ มีความสามารถในการควบคุมและยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุ R. solani ได้ดี การพัฒนาสูตรตำรับเม็ดฟู่สำหรับหว่าน โดยใช้ citric acid, tartaric acid, sodium bicarbonate, lactose และ polyvinyl pyrrolidone K-30 พบว่า สูตรตำรับเม็ดฟู่ มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสม แตกกระจายตัวได้ดี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเส้นใยของเชื้อราสาเหตุสูง (99.95 %) และมีปริมาณเชื้อในสูตรตำรับ 109 CFU/g หลังจากเก็บไว้เป็นเวลา 8 เดือน สามารถควบคุมและยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุ R. solani ได้ดี การทดสอบในสภาพแปลงทดลองขนาดเล็ก พบว่า การฉีดพ่นด้วยสูตรตำรับแกรนูลละลายน้ำ หรือการหว่านด้วยแกรนูลฟู่หลังจากปลูกเชื้อราในวันที่ 1, 5 และ 10 มีความสามารถในการควบคุมและยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุ R. solani ได้มากกว่าการใช้สารเคมีและชุดควบคุม นอกจากนี้ แปลงที่ได้รับการฉีดพ่นด้วยสูตรตำรับแก |
บรรณานุกรม | : |
ฤดีกร วิวัฒนปฐพี , Ruedeekorn Wiwattanapatapee . (2549). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium สำหรับควบคุมโรคข้าว.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ฤดีกร วิวัฒนปฐพี , Ruedeekorn Wiwattanapatapee . 2549. "การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium สำหรับควบคุมโรคข้าว".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ฤดีกร วิวัฒนปฐพี , Ruedeekorn Wiwattanapatapee . "การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium สำหรับควบคุมโรคข้าว."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2549. Print. ฤดีกร วิวัฒนปฐพี , Ruedeekorn Wiwattanapatapee . การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium สำหรับควบคุมโรคข้าว. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2549.
|