ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวและเสาะหา DNA บ่งบอกความต้านทานโรคในกุ้งกุลาดำ |
นักวิจัย | : | วิชัย บุญแสง , Vichai Boonsaeng |
คำค้น | : | Animal biotechnology and related animal science , Biological sciences , BT-B-06-2B-14-001 , Diagnostic reagents and test kits , Marine and freshwater biology , Penaeus monodon , Polymerase chain reaction , White Spot Syndrome Virus , การส่งออก , การเลี้ยงกุ้ง , กุ้ง , กุ้งกุลาดำ , ชุดตรวจวินิจฉัยโรคสำเร็จรูป , ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา , ไวรัสตัวแดงดวงขาว |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/1924 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ทำรายได้เข้าประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกกุ้งสดแช่เย็นและกุ้งแข็งมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ปัจจุบันอัตราการส่งออกกุ้งกุลาดำลดลงอย่างมากเนื่องจากผลผลิตกุ้งลดลง ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตลดลงเนื่องมาจากเกิดการระบาดของไวรัสตัวแดงดวงขาว ไวรัสหัวเหลือง และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกุ้งแคระ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเทคนิค PCR หรือปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสมาใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสในระยะแรกของการติดเชื้อ และยังได้พัฒนาการตรวจให้มีความไวมากขึ้นโดยวิธี nested PCR วิธี nested PCR ที่ได้พัฒนาขึ้นจะแตกต่างจาก nested PCR ทั่วไปที่มักจะมีปัญหาการปนเปื้อนเกิดขึ้นระหว่างการนำผลผลิต PCR จากหลอดแรกไปยังหลอดที่สอง วิธี one-step nested PCR ที่พัฒนาขึ้นนี้จะประกอบด้วย primer สองคู่หรือหลายคู่รวมอยู่ด้วยกันในหนึ่งหลอดเท่านั้น ดังนั้นทั้งปฏิกิริยา PCR และ nested PCR จะเกิดขึ้นภายในหลอดเดียว จึงทำให้ลดปัญหาการปนเปื้อนดังกล่าวได้ จุดประสงค์ของโครงการวิจัยนอกจากจะทำ การพัฒนาวิธีการตรวจเชื้อไวรัสในกุ้งกุลาดำให้รวดเร็ว ง่าย และมีความไวในการตรวจสูงด้วยวิธี PCR แล้ว ยังได้นำวิธี PCR ไปใช้ศึกษาการกระจายตัวของเชื้อไวรัสในเนื้อเยื่อต่างๆของกุ้งกุลาดำ เพื่อประโยชน์ในการตรวจหาเชื้อไวรัสในระยะแรกของการติดเชื้อ อีกทั้งทำการศึกษาหาพาหะของเชื้อไวรัสเหล่านี้ในสัตว์ชนิดต่างๆ ที่พบบริเวณบ่อเลี้ยงกุ้ง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าปู 4 ชนิด ได้แก่ ปูแสม ปูก้ามดาบ ปูทะเล และปูม้า เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวและไวรัสหัวเหลือง ส่วนสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น แมลงกรรเชียง เคย หนอนไส้เดือน หอย แมลงต่างๆ แมงมุมน้ำ ลูกน้ำยุง และ แมลงเต่าทอง ที่พบบริเวณบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นพาหะของเชื้อไวรัสเหล่านี้หรือไม่ |
บรรณานุกรม | : |
วิชัย บุญแสง , Vichai Boonsaeng . (2542). การพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวและเสาะหา DNA บ่งบอกความต้านทานโรคในกุ้งกุลาดำ.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วิชัย บุญแสง , Vichai Boonsaeng . 2542. "การพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวและเสาะหา DNA บ่งบอกความต้านทานโรคในกุ้งกุลาดำ".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วิชัย บุญแสง , Vichai Boonsaeng . "การพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวและเสาะหา DNA บ่งบอกความต้านทานโรคในกุ้งกุลาดำ."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2542. Print. วิชัย บุญแสง , Vichai Boonsaeng . การพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวและเสาะหา DNA บ่งบอกความต้านทานโรคในกุ้งกุลาดำ. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2542.
|