ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาตัวอย่างอาหารอ้างอิง (ตัวอย่างข้าว) และการใช้เพื่อประเมินสถานะภาพการวิเคราะห์อาหาร (ข้าว) ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ประภาศรี ภูวเสถียร , Prapasri Puwastien |
คำค้น | : | Biological sciences , BT-B-01-FG-14-4801 , Food , Food science and technology , Rice , ข้าว , คุณค่าทางโภชนาการ , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย , สารอาหาร |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/1897 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของอาหารเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับกิจกรรม และงานวิจัยทางด้านอาหาร และโภชนาการ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการค้นหาและคัดเลือกสายพันธุ์พืช ประเมินการได้รับสารอาหาร ให้ความรู้ทางด้านโภชนาการ คัดเลือกวัตถุดิบ การพัฒนาสูตรอาหาร และใช้ในงานวิจัยและพัฒนาทางด้านอาหารและโภชนาการด้านต่างๆ การใช้วิธีวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐานและการมีระบบควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติ การ จะช่วยในการเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ การเข้าร่วมโครงการทดสอบความชำนาญซึ่งจัดว่าเป็นระบบการควบคุมจากภายนอก สามารถช่วยให้นักวิเคราะห์มีความมั่นใจในคุณภาพของการวิเคราะห์และข้อมูลที่ ได้ และช่วยชี้ให้เห็นถึงปัญหา (ถ้ามี) ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการ ในกระบวนการนี้จำเป็นต้องมีตัวอย่างอาหารทดสอบที่มีค่าอ้างอิง ซึ่งต้องจัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล จุดม่งหมายของการศึกษาครั้งนี้คือการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการที่ มีการวิเคราะห์และวิจัยข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย หลังจากนั้นมีการประชุมปรึกษาวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่1 มีจุดม่งหมายคือการเตรียมตัวอย่างข้าวให้มีค่า assigned values ของสารในอาหาร เพื่อใช้เป็นตัวอย่างอาหารในโครงการการประเมินสถานะภาพความชำนาญของห้อง ปฏิบัติการในการวิเคราะห์สารอาหารและสารต่อต้านคุณค่าทางโภชนาการในข้าว โดยทำตามหลักเกณฑ์สากลคือ ISO Guide 35 และ ISO 13528 ในการเตรียมตัวอย่างและจัดทำค่าอ้างอิง และใช้ ISO guide 43 ในการทดสอบความชำนาญของห้องปฏิบัติการ ตลอดการศึกษา การศึกษาทำโดยเตรียมตัวอย่างข้าว 2 ชนิด Rice-1 (ข้าวกล้อง) and Rice-2 (ข้าวกล้องที่มีผิวสีน้ำตาลแดงเข้ม) ชนิดละประมาณ 20 กิโลกรัมจาก National Centre for Genetics and Biotechnologyมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเป็นเนื้อเดียวกันโดยใช้เครื่องบดแรงสูง (Cyclotec) สำหรับตัวอย่างข้าวที่ใช้วิเคราะห์เหล็กและสังกะสี ใช้เครื่องบดที่เป็น stainless โดยใช้ liquid nitrogen ช่วยในการที่จะทำให้ข้าวมีเนื้อที่แข็งและกรอบ บดเป็นผงละเอียดได้ดีขึ้น ผงละเอียดของข้าวที่ได้ ต้องร่อนผ่าน sieve มาตรฐานขนาด 250 ไมครอนทั้งหมด ผสมผงละเอียดของตัวอย่างให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่งก่อนแบ่งบรรจุในซองอลูมิ เนียม ภายใต้สุญญากาศ ซองละประมาณ 25 กรัม สำหรับวิเคราะห์สารอาหารหลัก วิตามินบีหนึ่งและสารต่อต้านคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งค่าความสามารถในการนำไปใช้ของเหล็ก และ บรรจุ 10 กรัม ภายใต้สุญญากาศ สำหรับวิเคราะห์แร่ธาตุ สุ่มตัวอย่างที่เตรียมขึ้นอย่างละ 10 ตัวอย่างอย่างไม่เจาะจงนำไปทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันของตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ตัวแทนสารอาหารหลักคือ ความชื้น และโปรตีน และวิเคราะห์ตัวแทนสารอาหารปริมาณน้อยคือวิตามินบีหนึ่ง แร่ธาตุเหล็กและสังกะสี ผลวิเคราะห์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่เตรียมขึ้นทั้งหมดมีความเป็น เนื้อเดียวกัน สามารถยอมรับได้ ห้องปฏิบัติการเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 66 แห่ง แต่มี 62 แห่งที่รายงานผลตามเวลาที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยห้องปฏิบัติการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก 10 แห่ง เป็นห้องปฏิบัติการจากประเทศไทย 36 แห่ง และจากประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนและเอเซีย 16 แห่ง เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมโครงการน้อยและแต่ละหน่วยงานมีข้อจำกัดใน การวิเคราะห์ชนิดของสารอาหาร การศึกษาครั้งนี้จึงได้จัดทำค่าอ้างอิง (assigned values) ของสารในตัวอย่างข้าวที่เตรียมขึ้น ตามวิธีมาตรฐาน ISO 13528 ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ได้ค่าอ้างอิงเป็นค่า robust mean+robust SD จากผลวิเคราะห์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการทั้งหมดหลังจากได้แยกค่าที่พบว่ามา จากการวิเคราะห์ที่ใช้วิธีที่ไม่เป็นมาตรฐานออกไปแล้ว โดยวิธีนี้ค่าวิเคราะห์ที่เป็นค่าต่ำและสูงเกินกว่าที่ยอมรับได้ (outliers) ไม่มีผลต่อค่าอ้างอิงที่จัดทำขึ้น จากกระบวนการนี้ ทำให้ได้ค่าอ้างอิงของความชื้น (จาก empirical methods) โปรตีน เถ้า และแร่ธาตุสังกะสี สำหรับค่า อ้างอิง ของใยอาหาร แร่ธาตุเหล็กและวิตามินบีหนึ่ง พบว่าผลการวิเคราะห์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการต่างๆ มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้ได้ค่าเบี่ยงเบนจากค่ากลาง (Relative Standard Deviation) สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ จึงได้มีการปรับใช้ค่าอ้างอิงที่เป็นค่า robust mean ที่ได้จาก ISO 13528 มาเป็นฐานในการคำนวณค่า Horwitz |
บรรณานุกรม | : |
ประภาศรี ภูวเสถียร , Prapasri Puwastien . (2549). การพัฒนาตัวอย่างอาหารอ้างอิง (ตัวอย่างข้าว) และการใช้เพื่อประเมินสถานะภาพการวิเคราะห์อาหาร (ข้าว) ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ประภาศรี ภูวเสถียร , Prapasri Puwastien . 2549. "การพัฒนาตัวอย่างอาหารอ้างอิง (ตัวอย่างข้าว) และการใช้เพื่อประเมินสถานะภาพการวิเคราะห์อาหาร (ข้าว) ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ประภาศรี ภูวเสถียร , Prapasri Puwastien . "การพัฒนาตัวอย่างอาหารอ้างอิง (ตัวอย่างข้าว) และการใช้เพื่อประเมินสถานะภาพการวิเคราะห์อาหาร (ข้าว) ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2549. Print. ประภาศรี ภูวเสถียร , Prapasri Puwastien . การพัฒนาตัวอย่างอาหารอ้างอิง (ตัวอย่างข้าว) และการใช้เพื่อประเมินสถานะภาพการวิเคราะห์อาหาร (ข้าว) ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2549.
|