ชื่อเรื่อง | : | การวิจัยพัฒนา SSME (Service Science, Management and Engineering) เพื่อบูรณาการการบริการในการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
นักวิจัย | : | มรกต ระวีวรรณ , Alizon Fabrice , อนุ ระวีวรรณ , Morrakot Raweewan , อลิซอน ฟาไบรซ์ |
คำค้น | : | Agriculture , Commerce, Management and Engineering , Service industries , Service Science, Management and Engineering , Tourism , ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย , อุตสาหกรรมท่องเที่ยว , อุตสาหกรรมบริการ , เกษตรกรรม |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/844 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ภาคบริการ (service sector) ทวีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยมีการรวมกลุ่มทั้งภาคเอกชน มหาวิทยาลัย ภาครัฐและศูนย์วิจัยของรัฐและเอกชน เพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาภาคบริการและเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยและพัฒนา วิทยาการ วิศวกรรมและการจัดการบริการ (Service Science, Management and Engineering: SSME) ข้อเสนอโครงการฉบับนี้มุ่งเน้นที่การวิจัยพัฒนา SSME เพื่อบูรณาการณ์การบริการในการเพิ่มศักยภาพภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากอุตสาหกรรมทั้งสองเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้และเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้โครงการยังมุ่งสร้างพันธมิตรเพื่อขยายผลการวิจัยสู่ผู้ประกอบการทั้งในภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงกับทรัพยากรมนุษย์มากมายทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการและทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย หากมีการวางระบบที่ดีที่เชื่อมโยงผู้ให้และผู้รับบริการและมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เพิ่มศักยภาพของธุรกิจ สร้างเอกลักษณ์และเสริมจุดแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ซึ่งครอบคลุมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว การรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี และการกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว การวิจัยพัฒนา SSME ในที่นี้จึงอาศัยมุมมองที่ผสมผสานระหว่างวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering, โดยเฉพาะการออกแบบและการจัดการโซ่อุปทาน),ไอที, การบริหารจัดการ (Management) และ สังคมวิทยา (Social Science) เพื่อให้เป็นสหวิทยาการ ยิ่งไปกว่านี้เกษตรกรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโซ่อุปทานถูกจัดให้อยู่ในยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) หากสามารถแก้ไขจุดอ่อนและสร้างจุดแข็งให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ธนาคารโลก ยังนำตัวชี้วัดศักยภาพโลจิสติกส์ (logistics performance index) โดยวัดแยกในแต่ละทวีป มาประกอบการศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจโลก ดังนั้นศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติในฐานะศูนย์วิจัยแห่งชาติและพันธมิตรในการศึกษาพัฒนา SSME ในประเทศไทยควรมีการวิจัยแนวสหวิทยาการโดยมุมมองจากโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เพื่อบูรณาการณ์ภาคบริการกับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงกับทรัพยากร มนุษย์มากมายทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการและทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย หากมีการวางระบบที่ดีที่เชื่อมโยงผู้ให้และผู้รับบริการและมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เพิ่มศักยภาพของธุรกิจ สร้างเอกลักษณ์และเสริมจุดแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ซึ่งครอบคลุมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว การรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี และการกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว การวิจัยพัฒนา SSME ในที่นี้จึงอาศัยมุมมองที่ผสมผสานระหว่างวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering, โดยเฉพาะการออกแบบและการจัดการโซ่อุปทาน),ไอที, การบริหารจัดการ (Management) และ สังคมวิทยา (Social Science) เพื่อให้เป็นสหวิทยาการ ยิ่งไปกว่านี้เกษตรกรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโซ่อุปทานถูกจัดให้อยู่ในยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความ ได้เปรียบในการแข่งขันโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) หากสามารถแก้ไขจุดอ่อนและสร้างจุดแข็งให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ธนาคารโลก ยังนำตัวชี้วัดศักยภาพโลจิสติกส์ (logistics performance index) โดยวัดแยกในแต่ละทวีป มาประกอบการศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจโลก ดังนั้นศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติในฐานะศูนย์วิจัยแห่งชาติและพันธมิตรในการศึกษาพัฒนา SSME ในประเทศไทยควรมีการวิจัยแนวสหวิทยาการโดยมุมมองจากโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เพื่อบูรณาการณ์ภาคบริการกับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
บรรณานุกรม | : |
มรกต ระวีวรรณ , Alizon Fabrice , อนุ ระวีวรรณ , Morrakot Raweewan , อลิซอน ฟาไบรซ์ . (2551). การวิจัยพัฒนา SSME (Service Science, Management and Engineering) เพื่อบูรณาการการบริการในการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. มรกต ระวีวรรณ , Alizon Fabrice , อนุ ระวีวรรณ , Morrakot Raweewan , อลิซอน ฟาไบรซ์ . 2551. "การวิจัยพัฒนา SSME (Service Science, Management and Engineering) เพื่อบูรณาการการบริการในการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. มรกต ระวีวรรณ , Alizon Fabrice , อนุ ระวีวรรณ , Morrakot Raweewan , อลิซอน ฟาไบรซ์ . "การวิจัยพัฒนา SSME (Service Science, Management and Engineering) เพื่อบูรณาการการบริการในการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2551. Print. มรกต ระวีวรรณ , Alizon Fabrice , อนุ ระวีวรรณ , Morrakot Raweewan , อลิซอน ฟาไบรซ์ . การวิจัยพัฒนา SSME (Service Science, Management and Engineering) เพื่อบูรณาการการบริการในการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2551.
|