ชื่อเรื่อง | : | งานวิจัยด้านจีโนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เฟสที่ 1 |
นักวิจัย | : | อัญชลี ทัศนาขจร , Anchalee Tassanakajon |
คำค้น | : | Animal biotechnology and related animal science , Biological sciences , Black tiger prawn , cDNA , DNA microarrays , Genomes , Marine and freshwater biology , Penaeus monodon , การเลี้ยงกุ้ง , กุ้ง , กุ้งกุลาดำ , จีโนม , ดีเอ็นเอไมโครแอเรย์ , นิวคลิโอไทด์ , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา , ไมโครอะเรย์ |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/286 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | งานวิจัยด้านยีโนมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาทางชีววิทยาของสิ่งมี ชีวิตต่างๆ โครงการยีโนมมนุษย์และโครงการยีโนมอื่นๆที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และข้อมูลเกี่ยวกับรหัสพันธุกรรมจำนวน มหาศาล ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่และการทำงานของยีนและโปรตีนในสิ่งมี ชีวิต งานวิจัยด้านยีโนมกุ้งจัดเป็นงานวิจัยที่สำคัญเนื่องจากกุ้งกุลาดำเป็นสัตว์ น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย การค้นหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนจำนวนมากและการศึกษาการแสดงออกของยีนใน เนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อศึกษาหน้าที่และการทำงานร่วมกันของยีน รวมทั้งการพัฒนาเครื่องหมายทางพันธุกรรมเพื่อใช้คัดพันธุ์และทำแผนที่ยีโน มเป็นงานวิจัย ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตกุ้งกุลาดำของประเทศ ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะผลิตพ่อแม่พันธุ์จากกุ้งในบ่อเลี้ยงและทำการ คัดเลือกกุ้งเพื่อผลิตกุ้งกุลาดำที่ต้านทานต่อโรคและมีอัตราการเจริญเติบโต เร็ว ซึ่งต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยีนและโปรตีน ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเจริญเติบโต ระบบสืบพันธุ์และระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งกุลาดำ ในงานวิจัยนี้จะค้นหายีนโดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ cDNA clones ที่เตรียมจากเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของกุ้ง เช่น เม็ดเลือด ก้านตา รังไข่ ต่อมน้ำเหลือง ทั้งในสภาวะปกติและในสภาวะกดดันด้วยการติดเชื้อหรือความร้อน เพื่อค้นหายีนที่แสดงออกจำเพาะในเนื้อเยื่อแต่ละชนิดและยีนที่ตอบสนองต่อ สภาวะกดดันต่างๆในกุ้ง โดยเทคนิค Expressed Sequecne Tag หรือ EST โดยจะทำการหาลำดับนิวคลี-โอไทด์ของ cDNA clones ในระยะแรกประมาณ 8,000-10,000 clones ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ได้จะถูกนำ ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลจากฐานข้อมูล GenBank เพื่อจัดกลุ่มยีนตามหน้าที่ ทำนายลำดับกรดอะมิโน ทำนายโครงสร้างและสมบัติของโปรตีน และจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล shrimp EST เพื่อให้นักวิจัยในกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพและยีโนมกุ้งในประเทศไทย ใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาวิจัยต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
อัญชลี ทัศนาขจร , Anchalee Tassanakajon . (2547). งานวิจัยด้านจีโนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เฟสที่ 1.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. อัญชลี ทัศนาขจร , Anchalee Tassanakajon . 2547. "งานวิจัยด้านจีโนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เฟสที่ 1".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. อัญชลี ทัศนาขจร , Anchalee Tassanakajon . "งานวิจัยด้านจีโนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เฟสที่ 1."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2547. Print. อัญชลี ทัศนาขจร , Anchalee Tassanakajon . งานวิจัยด้านจีโนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เฟสที่ 1. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2547.
|