ชื่อเรื่อง | : | ศึกษาสภาวะตลาดและอุตสาหกรรมไอซีที 2552 |
นักวิจัย | : | สิรินทร ไชยศักดา , ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , กัลยา อุดมวิทิต , กษิติธร ภูภราดัย , สุมาวสี ศาลาสุข , ปัญชลี พึ่งพิศ , Sirintorn Chaisakda , Chadamas Thuvasethakul , Kalaya Udomvitid , Kasititorn Pooparadai , Sumavasee Salasuk , Puncharee Pungpit |
คำค้น | : | Communication technologies , Engineering and technology , Information technology , Software industry , การตลาด , ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย , อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ , อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ , เทคโนโลยีสารสนเทศ |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/91 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จัดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร แฟชั่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ และอัญมณี เนื่องจากความต้องการซอฟต์แวร์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเสริมจากการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) อีกด้วย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนาบนฐานของความรู้ (Knowledge-Based) ซอฟต์แวร์เป็นสินค้าที่ไม่มีตัวตน การสร้างหรือผลิตซอฟต์แวร์ อาศัยวัตถุดิบด้านความรู้ความสามารถบุคลากรและเครื่องมือต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ และสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารต่างๆ เป็นหลักโดยที่ไม่ต้องอาศัยการลงทุนด้านเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว ประเทศไทยซึ่งมีแรงงานที่มีความปราณีต ประกอบกับจุดแข็งในหลายๆ ด้านเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ภาวะทางการเมืองที่สงบและไม่มีเหตุการณ์ที่รุนแรงเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แนวโน้มของเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังขยายตัว รวมทั้งความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของประเทศในอุตสาหกรรมนี้ SIPA ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเข้ม แข็งแก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศ เห็นถึงความสำคัญประเด็นดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักว่า ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญต่อการวางแผนและการจัดทำกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้อยมาก การศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาภาพกว้างในเชิงมูลค่าหรือขนาดของตลาด ไม่มีการศึกษาเชิงลึกที่จะให้ข้อมูลเพียงพอต่อการวางกลยุทธ์หรือทำให้เข้าใจ อุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ส่งผลให้ความเข้าใจในตัวอุตสาหกรรมมีอย่างจำกัด นอกจากนั้นความขาดแคลนข้อมูลยังทำให้ประเทศขาดโอกาสด้านการลงทุนจากต่างชาติ อีกด้วย ด้วยตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าว SIPA จึงได้จัดให้มีโครงการศึกษาสภาวะตลาดและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2552 เพื่อให้สามารถนำข้อมูล/ผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ในการวางนโยบาย แผนการประยุกต์การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของภาครัฐและภาคเอกชน ให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงนำผลที่ได้มาปรับปรุงและประเมินการแข่งขันกับประเทศที่เป็นคู่แข่ง ด้านตลาดเทคโนโลยีของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ การจัดทำการศึกษาดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การจัดทำแบบสำรวจมาตรฐานอุตสาหกรรม ด้านซอฟต์แวร์ของประเทศเพื่อให้มีแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ ทั้งนี้ SIPA เห็นว่า NECTEC ซึ่งมีทีมวิจัยซึ่งมีประสบการณ์ในการสำรวจตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา จึงมีความประสงค์จะให้เนคเทค ร่วมดำเนินงานศึกษาวิจัยให้กับ SIPA เพื่อเป็นการนำพื้นฐานและองค์ความรู้ที่มีอยู่มาทำการต่อยอดและให้ได้มาซึ่งข้อมูลและข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ต่อไป โดยทำการสนับสนุนงบประมาณ เฉพาะส่วนค่าบริหารจัดการโครงการ จำนวน 5,000,000 บาท และดำเนินงานโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือของสองหน่วยงานคือ SIPA และ สวทช. (โดย เนคเทค) โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 1 ปี มีผลผลิตที่สำคัญของโครงการคือ รายงานการศึกษา 4 เล่ม ฐานข้อมูลในรูป Spredasheet เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ICT 1 ฐาน และบทสรุปผู้บริหารเป็นภาษาไทยและอังกฤษอีก 1 ฉบับ |
บรรณานุกรม | : |
สิรินทร ไชยศักดา , ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , กัลยา อุดมวิทิต , กษิติธร ภูภราดัย , สุมาวสี ศาลาสุข , ปัญชลี พึ่งพิศ , Sirintorn Chaisakda , Chadamas Thuvasethakul , Kalaya Udomvitid , Kasititorn Pooparadai , Sumavasee Salasuk , Puncharee Pungpit . (2553). ศึกษาสภาวะตลาดและอุตสาหกรรมไอซีที 2552.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สิรินทร ไชยศักดา , ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , กัลยา อุดมวิทิต , กษิติธร ภูภราดัย , สุมาวสี ศาลาสุข , ปัญชลี พึ่งพิศ , Sirintorn Chaisakda , Chadamas Thuvasethakul , Kalaya Udomvitid , Kasititorn Pooparadai , Sumavasee Salasuk , Puncharee Pungpit . 2553. "ศึกษาสภาวะตลาดและอุตสาหกรรมไอซีที 2552".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สิรินทร ไชยศักดา , ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , กัลยา อุดมวิทิต , กษิติธร ภูภราดัย , สุมาวสี ศาลาสุข , ปัญชลี พึ่งพิศ , Sirintorn Chaisakda , Chadamas Thuvasethakul , Kalaya Udomvitid , Kasititorn Pooparadai , Sumavasee Salasuk , Puncharee Pungpit . "ศึกษาสภาวะตลาดและอุตสาหกรรมไอซีที 2552."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553. Print. สิรินทร ไชยศักดา , ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล , กัลยา อุดมวิทิต , กษิติธร ภูภราดัย , สุมาวสี ศาลาสุข , ปัญชลี พึ่งพิศ , Sirintorn Chaisakda , Chadamas Thuvasethakul , Kalaya Udomvitid , Kasititorn Pooparadai , Sumavasee Salasuk , Puncharee Pungpit . ศึกษาสภาวะตลาดและอุตสาหกรรมไอซีที 2552. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2553.
|