ชื่อเรื่อง | : | โครงการจัดสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจนอกกฎหมายและนโยบายสาธารณะในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ผาสุก พงษ์ไพจิตร |
คำค้น | : | นโยบายสาธารณะ , เศรษฐกิจนอกกฎหมาย |
หน่วยงาน | : | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=PDG4010014 , http://research.trf.or.th/node/3230 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | โครงการวิจัยเรื่อง “เศรษฐกิจนอกกฏหมายและนโยบายสาธารณะในประเทศไทย” ชี้ให้เห็นภาพของ “ระบบเศรษฐกิจนอกกฎหมาย” ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จากการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายจำนวนหนึ่งที่สำคัญ คือการค้ายาเสพติด น้ำมันเถื่อน ค่าบริการการค้าประเวณีในประเทศไทย ค่าบริการนายหน้าค้าแรงงานพม่าเข้าไทย และการค้าหญิงไทยไปต่างประเทศเพื่อบริการทางเพศ การค้าอาวุธสงคราม หวยใต้ดิน บ่อนการพนัน และบ่อนฟุตบอล ภาพของ “ระบบเศรษฐกิจนอกกฎหมาย” ที่คณะนักวิจัยค้นพบได้แสดงให้เห็นว่าขบวนการทางเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายส่วนใหญ่มิได้ดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระขาดออกจากกัน หากแต่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน และมีเครือข่ายที่ซ้อนทับกันอยู่ด้วย ผลการศึกษาของงานวิจัยฉบับนี้สามารถกระตุ้นให้สาธารณชนหันมาสนใจและถกเถียง เรื่องแนวทางและนโยบายสาธารณะที่ควรจะเป็นไปกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยทั่ว ๆ ไปที่มักจะเป็นเรื่องทางเทคนิค หรือเป็นการศึกษาเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้วางแผนทำการตัดสินใจเป็นสำคัญ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสำนึกคิดใดสำนึกคิดหนึ่ง ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง หรือวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หากแต่พยายามผสมผสานหลักคิด และวิธีการอย่างหลากหลายจากหลายสำนึกคิด และหลายวิธีการศึกษา เป็นวิธีวิทยาของการศึกษางานชิ้นนี้ ในขณะที่คณะนักวิจัยยอมรับปรัชญา และหลักการวิเคราะห์ของสำนักเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในทฤษฎีและวิธีการศึกษาแบบเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิคในบางด้านด้วย ทฤษฎีทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา กฎหมาย และวิธีการวิจัยเชิงตลาด ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาของงานชิ้นนี้ (Interdisciplinary Approach) คณะผู้วิจัยมิได้ปฏิเสธความขัดแย้งที่ดำรงอยู่มาช้านานระหว่างวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ กับวิธีการเชิงคุณภาพ หากแต่ได้พยายามผสมผสานวิธีการศึกษาทั้ง 2 แบบเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยที่ตระหนักว่าการทำความเข้าใจสถานะและขนาดของเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายในปัจจุบัน มิอาจที่จะปฏิเสธวิธีการศึกษาแบบใดแบบหนึ่ง แต่จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการศึกษาทั้ง 2 แบบควบคู่กันไป จึงจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่กำหนดไว้ได้ |
บรรณานุกรม | : |
ผาสุก พงษ์ไพจิตร . (2540). โครงการจัดสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจนอกกฎหมายและนโยบายสาธารณะในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ผาสุก พงษ์ไพจิตร . 2540. "โครงการจัดสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจนอกกฎหมายและนโยบายสาธารณะในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ผาสุก พงษ์ไพจิตร . "โครงการจัดสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจนอกกฎหมายและนโยบายสาธารณะในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2540. Print. ผาสุก พงษ์ไพจิตร . โครงการจัดสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจนอกกฎหมายและนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2540.
|